7,000,000,000

PEOPLE CONSUMING WHAT NOW ?

WHAT'S WRONG WITH OUR FOOD SYSTEM ?

Every night 1 in 7 people go to bed hungry-that's almost 1 billion people worldwide.

Polluted river water

Kills as many people as a nuclear explosion.

THE RECYCLE CHRONICLES

Lack of knowledge hinders recycling efforts.

Everybody wants happiness

Nobody wants pain, but you can't have a rainbow with out a little rain.

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

๑4๑ เพียงซื้อผลิตภัณฑ์ก็ได้ปันของเล่นให้น้อง


๑4๑ เพียงซื้อผลิตภัณฑ์ก็ได้ปันของเล่นให้น้อง

408171 345078838845666 213 Copy
จากจุดเริ่มต้นในการเลือกของเล่นที่มีประโยชน์ให้กับลูกฝาแฝด ฟ้าและน้ำ มาสู่แรงบันดาลใจในการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสังคมที่สามารถส่งต่อความหวังดีของผู้ซื้อสู่เด็กผู้ด้อยโอกาส เพราะการบริโภคเพียงเพื่อตัวเราคงไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่การแบ่งปันกลับคืนสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมกลายเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจในยุค Generation Generosity และนี่คือจุดเริ่มต้นของการสร้างธุรกิจเพื่อสังคม ๑4๑ โดยคมกฤช และกฤติยา ตระกูลทิวากร
๑4๑ เป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ประเภทของใช้ตกแต่งภายในบ้าน เช่น นาฬิกา ที่กั้นหนังสือ เก้าอี้ กล่องใส่ของ ฯลฯ โดยมีเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่ลายฉลุซึ่งถูกออกแบบให้เป็นลวดลายต่างๆ เช่น กวางมูส กระต่าย นก เต่า แกะ ต้นไม้ ฯลฯ ช่องว่างที่ถูกฉลุออกไปนี้เปรียบเสมือนกับช่องว่างแห่งการให้ (The giving space) ที่ถูกนำไปผลิตเป็นของเล่นเชิงสร้างสรรค์ส่งมอบให้กับเด็กด้อยโอกาสตามมูลนิธิเด็กที่มีเครือข่ายศูนย์เด็กอ่อนในชนบท ดังนั้นทุกๆ หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เราซื้อ ส่วนหนึ่งของวัตถุดิบจะถูกนำไปผลิตเป็นของเล่นไม้ได้หลายชิ้น
สิ่งหนึ่งที่ถูกสะท้อนกลับมาในใจผู้บริโภคก็คือ เราทุกคนได้มีส่วนร่วมในการส่งมอบของเล่นให้กับเด็กด้อยโอกาส เพื่อให้เขาเหล่านั้นเติบโตไปกับของเล่นที่มีคุณภาพ เพราะการที่เขาเกิดมาด้อยโอกาส ไม่ได้หมายความว่า เขาต้องด้อยพัฒนาทางด้านความคิดสร้างสรรค์ไปด้วย อันเป็นการสร้างสังคมให้น่าอยู่มากขึ้นผ่าน ‘วิถีแห่งการให้ และการแบ่งปัน’ อันเป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจเพื่อสังคม ๑4๑
ที่มา : www.facebook.com/141SE


Credit/ที่มา: http://www.creativemove.com/design/141se/#ixzz27nyv0QgE

น้ำมันกว่า 16 ล้านบาร์เรล หมดไปกับการเอามาใช้ทำขวดพลาสติก

Print Ad สยอง! ดื่มน้ำบรรจุขวดพลาสติก = ซดน้ำมัน!

Brita21
Brita เครื่องกรองน้ำสัญชาติเยอรมัน ช็อคคนให้หยุดดู Print Ad ชุดนี้ ด้วยภาพหนุ่มสาวที่มีคราบน้ำมันออกมาจากปาก แทนที่จะเป็นคราบน้ำสะอาดสุดสดชื่น พร้อมทิ้งท้ายใน Ad ว่า “ปีก่อน น้ำมันกว่า 16 ล้านบาร์เรล หมดไปกับการเอามาใช้ทำขวดพลาสติก” เพื่อให้ผู้คนตระหนักว่า การดื่มน้ำที่บรรจุพลาสติกหรือที่เราเรียกกันว่าขวด PET (Polyethylene Terephthalate) ผลาญทรัพยากรน้ำมันอย่างมากในการผลิต หนำซ้ำยังปล่อยก๊าซพิษกับมลพิษที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
Brita ต้องการให้เราหยุดการดื่มน้ำบรรจุขวดพลาสติกและหันมากรองน้ำดื่มเองโดยใช้ภาชนะที่สามารถนำกลับมาใช้ครั้งแล้วครั้งเล่า หรือจริงๆ แล้วคุณอาจจะแทบไม่ต้องใช้เครื่องกรองน้ำเลยก็ได้ หากคุณอยู่ในประเทศพัฒนาแล้วอย่างยุโรปหรืออเมริกาที่มีมาตรฐานน้ำประปาดื่มได้สูงอยู่แล้ว ซึ่งแคมเปญนี้พยายามชี้ให้เห็นว่าน้ำดื่มบรรจุขวดเป็นสินค้าที่ไร้ประโยชน์ แม้ขวดพลาสติกจะสามารถนำมารีไซเคิลได้ แต่ก็เพียง 20% เท่านั้น ที่เหลือต้องใช้วิธีฝังกลบซึ่งต้องใช้เวลากว่า 700 ปีในการย่อยสลาย และยังต้องสูญเสียทรัพยากรและพลังงานในการรีไซเคิล เรียกได้ว่า ได้ไม่คุ้มเสีย ซึ่งแต่ละปี แค่เฉพาะแค่ในอเมริกามีขวดพลาสติก 38 พันล้านขวดต้องถูกนำไปฝังกลบ จำนวนพลาสติกเหล่านั้นต้องใช้น้ำมันกว่า 1.5 ล้านบาร์เรลในการผลิต เพียงให้ได้ขวดน้ำดื่มครั้งเดียวแล้วทิ้ง !
จริงอยู่…มนุษย์ต้องดื่มน้ำ แต่จำเป็นหรือไม่ ที่ต้องดื่มน้ำบรรจุขวดพลาสติก เรามีทางเลือกอื่นที่ดีสำหรับตัวเราและสิ่งแวดล้อมหรือไม่…นี่คือเรื่องใกล้ตัวที่คุณเองก็ช่วยโลกได้

น้ำดื่มบรรจุขวดผลาญทั้งพลังงานและเงินในการขนส่ง จะดีกว่ามั้ย หากคุณกรองน้ำดื่มจากก๊อกน้ำที่บ้าน  สะอาด ปลอดภัย ไม่มีค่าขนส่ง ช่วยลดการใช้พลังงานด้วย
น้ำที่นอนนิ่งในขวดพลาสติกอาจมีสารเคมีเจือปน แล้วจะเสียเงินโดยใช่เหตุทำไม  ในเมื่อเรามีทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อชีวิตและโลกของเรา

อ้างอิง : Brita


Credit/ที่มา: http://www.creativemove.com/advertising/brita-print-ad/#ixzz27nxWDM4V

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

Good Buy... คิดก่อนช้อป สังคมก็ดีขึ้นได้

โดย ธนภณ เศรษฐบุตร (@thanapons) 
จะดีแค่ไหนถ้าการช้อปปิ้งไม่เป็นเพียงแค่การซื้อของเพื่อตนเองอีกต่อไป จะดีแค่ไหนถ้าวันนี้การซื้อของของคุณสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมได้ วันนี้สิ่งที่พูดมาทั้งหมดไม่เป็นเพียงแค่เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไป เพราะปัจจุบันมีผู้ผลิตและผู้ค้ามากมายที่ต้องการก้าวข้ามการทำธุรกิจหรือการค้าขายแบบแบบเดิมๆ ไปสู่การค้าขายที่เป็นธรรมหรือที่เรียกกันว่า "แฟร์เทรด" (Fairtrade)
Fair Trade คือความพยายามในการส่งเสริมการค้าแบบยุติธรรม
โดยเน้นสินค้าและบริการจากประเทศโลกที่สามและโลกที่สองไปยังประเทศโลกที่หนึ่ง
แนวคิดของแฟร์เทรดไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่ในต่างประเทศ แถมสินค้าแฟร์เทรดหลายตัวก็มีคุณภาพที่เรียกได้ว่าทัดเทียมกับสินค้าทั่วไปในท้องตลาดเลยทีเดียว (ใครที่คิดว่าของที่ทำเพื่อสังคม จะมีดีไซน์ที่เชย คุณภาพขาดๆ เกินๆ ขอให้คิดใหม่) เพื่อให้เห็นภาพกันมากขึ้นผู้เขียนขอยกตัวอย่างหนึ่ง Pants to Povertyกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) จากประเทศอังกฤษที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ผลิตฝ้ายในประเทศอินเดีย Pants to Poverty เป็นกิจการเพื่อสังคมที่ร่วมกับผู้ปลูกฝ้ายและโรงงานที่ประเทศอินเดีย เพื่อผลิตกางเกงในแฟร์เทรดและส่งขายไปกว่า 20 ประเทศทั่วโลก นอกจากการซื้อขายกับผู้ผลิตและโรงงานอย่างเป็นธรรมแล้ว Pants to Poverty ยังเข้าไปร่วมส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำการปลูกฝ้ายแบบอินทรีย์อีกด้วย
  
© pantstopoverty.com
กลับมาดูตัวอย่างของประเทศไทยกันบ้าง เคสของธุรกิจแฟร์เทรดที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคงไม่พ้นดอยตุง ธุรกิจที่ช่วยให้ชุมชนหยุดการตัดไม้ทำลายป่าและหันมาสร้างอาชีพให้กับชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพื้นที่ โดยดอยตุงนอกจากเข้าไปช่วยชุมชนพัฒนาอาชีพแล้ว ยังรับซื้อสินค้าต่างๆ จากชุมชนในราคาที่เป็นธรรมอีกด้วย นอกเหนือจากดอยตุงแล้ว "ปลาจะเพียร" ก็เป็นอีกหนึ่งกิจการเพื่อสังคมแฟร์เทรดที่น่าสนใจ

© doitung.org
‘ปลาจะเพียร’ ถูกริเริ่มขึ้นจากความร่วมมือของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรต่างๆ อาทิ Thailand Creative Design Center (TCDC), นิตยสาร a day, Thai Graphic Designer Association (ThaiGa), สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม (สกส.), สถาบันChangeFusion และอีกหลากหลายองค์กร โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่อสร้างตลาดสำหรับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างศักยภาพในการประกอบอาชีพให้กับชุมชนและองค์กรเพื่อสังคมอื่นๆ อย่างยั่งยืน
ชื่อปลาจะเพียร
มาจาก ‘ปลาตะเพียนสาน’ เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงงานฝีมือของชุมชนความเป็นไทย
และการสานยังแสดงถึงการสอดประสานร่วมมือร่วมใจรวมกับความ ‘เพียร’ พยายามในการว่ายทวนน้ำของปลา

www.facebook.com/plajapian
จากเคสทั้งหมดที่กล่าวมาคงเห็นแล้วว่า ปัจจุบันนี้มีธุรกิจต่างๆ มากมาย ที่ไม่ดำเนินธุรกิจโดยมีเพียงแค่กำไรเป็นตัวตั้ง หากแต่ยังคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และความเป็นธรรมกับคู่ค้า พวกเราเองในฐานะผู้บริโภคก็สามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้นได้ผ่านการสนับสนุนสินค้าและบริการของกิจการแฟร์เทรดต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าถ้าพลังผู้บริโภคนั้นมีมากพอที่จะแสดงให้ธุรกิจทั้งหลายเห็นว่ายุคของการทำธุรกิจที่เอาแต่ผลประกอบการเป็นที่ตั้งนั้นล้าสมัยไปเสียแล้ว และร่วมกันส่งเสริมธุรกิจที่ดีต่อสังคมเช่นธุรกิจแฟร์เทรด ไม่แน่ว่าในอนาคตการที่ธุรกิจทั้งหลายจะแปรเปลี่ยนตนเองเป็นธุรกิจแฟร์เทรดทั้งหมดอาจจะไม่เป็นเพียงแค่ความฝันก็เป็นได้

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

รวมผลสำรวจอาหารปนสารพิษให้คนไทยกิน !?



ผลสำรวจของเอแบคโพลเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 ที่ระบุว่าคนไทยส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 65.8 ยอมรับได้ที่นักการเมืองทุจริตแต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย แสดงให้เห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่กำลังถูกครอบงำด้วยประเพณีชั่วที่นักการเมืองขี้ฉ้อได้สร้างขึ้นให้กลายประชาชนเป็นทาสที่ยอมจำนนกับนักการเมืองและผู้มีอำนาจได้โกงบ้านกินเมืองกันได้ตามอำเภอใจ
               โดยที่ประชาชนคงจะคิดว่าการโกงกินเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วการทุจริตนั้นแม้ประชาชนอาจได้ในสิ่งที่คิดว่าได้อย่างหนึ่งเพียงน้อยนิด แต่ในความเป็นจริงแล้วประชาชนได้สูญเสียบางสิ่งบางอย่างที่ใกล้ตัวมากอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัวเสียยิ่งกว่าด้วยซ้ำ               ใครจะเชื่อว่าคนไทยต้องเคยถูกหลอกให้ซื้อกินรังนกสำเร็จรูปด้วยราคาแพงมานับสิบๆ ปี ทั้งที่ความจริงแล้วมีรังนกจริงเพียงแค่ 1% ทั้งๆ ที่มีการปล่อยให้มีการโฆษณาเกินจริงมาอย่างยาวนานโดยไม่เคยมีใครออกมารับผิดชอบ               ยังไม่นับสารพิษที่คนไทยต้องกินเข้าไป ด้วยผลประโยชน์มหาศาลของกลุ่มทุนของบรรษัทข้ามชาติที่มาในรูปของยา ปุ๋ย อาหาร หลายชนิดที่สามารถนำเข้ามาในประเทศไทยได้ทั้งๆที่ทั่วโลกเขาเลิกใช้หรือสั่งห้ามใช้กันแล้ว               สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กลายเป็นแหล่งผลประโยชน์อันมหาศาลที่กลุ่มทุนขนาดใหญ่วิ่งเข้าหา ส่วนภาพลักษณ์ในการไล่เบี้ยเอาผิดกับอาหารที่ปะปนสารพิษก็ทำได้กับผู้ประกอบการรายเล็กๆ เพื่อสร้างภาพเท่านั้น ยังไม่นับอีกหลายกระแสที่มีการประโคมข่าวตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารเพียงไม่นานแล้วเรื่องดังกล่าวเหล่านั้นก็หายไปกับกลีบเมฆ ราวกับเป็นการเคาะกะลาเรียกแขกและนายทุนสามานย์เท่านั้น
      
       ทั้งหมดนี้คือต้นทุนของชีวิตที่คนไทยส่วนใหญ่ยอมรับนักการเมืองโกงได้แต่ขอให้ฉันได้ด้วย!!! 
              ทั้งหมดนี้คือต้นทุนของชีวิตที่คนไทยส่วนใหญ่ยอมรับนักการเมืองโกงได้แต่ขอให้ฉันได้ด้วย!!!                จะมีสักกี่คนที่ได้มีโอกาสอ่านรายงานการสำรวจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่งพบว่าประเทศไทยมีเนื้อที่ทำการเกษตรมากเป็นอันดับที่ 48 ของโลก แต่ใช้ยาฆ่าแมลงเป็นอันดับ 5 ของโลก ใช้ยาฆ่าหญ้าอันดับ 4 ของโลก และนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปี               และตราบใดที่เรายังใช้สารเคมีเป็นพิษที่นานาชาติเขาไม่ใช้กันแล้วมาเป็นต้นทางในการใช้กับสินค้าการเกษตร การตรวจอาหารปลายทางอีกกี่ครั้งก็จะยังพบสารพิษเหล่านี้อยู่ร่ำไป และหมายความว่าคนไทยก็ยังต้องมีโรคอันเกิดจากการบริโภคสารพิษนั้นต่อไป สร้างความร่ำรวยของพ่อค้านายทุนสามานย์ ข้าราชการและนักการเมืองขี้ฉ้อทั้งหลาย               เมื่อต้นปีที่ผ่านมาภาคประชาชนโดย เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีเกษตร และมูลนิธิชีววิถี ได้เคลื่อนไหวและยื่นหนังสือต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อขอให้ระงับการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตรายร้ายแรง 4 ชนิด คือ คาร์โบฟูราน (ชื่อการค้า-ฟูราดาน) เมโทมิล (ชื่อการค้า-แลนแนท) ไดโครฟอสและอีพีเอ็น แต่ผลปรากฏว่านายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตร ก็ไม่ได้ปฏิบัติตามแต่อย่างใด โดยอ้างว่าข้อมูลการขึ้นทะเบียน เช่น พิษวิทยา พิษตกค้างระยะยาวฯ เป็นผลการศึกษาของบริษัทสารเคมีซึ่งถือเป็นความลับบริษัท จะนำมาเปิดเผยไม่ได้      
        11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 น.ส.สารี อ่องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ได้เปิดเผยว่านิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 136 ถึงผักยอดฮิตในครัวเรือนไทย 7 ชนิด ได้แก่ กะหล่ำปลี คะน้า ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักชี และพริกจินดา จากห้างดังหลายห้าง ทั้งชนิดที่เป็น House Brand และตรารับรอง Q เจอสารเคมีอันตรายหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คาร์โบฟูราน และเมโทมิล ซึ่งแม้จะไม่เกินมาตรฐานประเทศไทยแต่เกินมาตรฐานยุโรป ได้แก่ ถั่วฝักยาวด็อกเตอร์ ผักชีห้างพารากอน และผักชีไร่ฐิติวันต์ คะน้าโฮมเฟรชมาร์ท และถั่วฝักยาวในห้างเทสโก้ จึงเรียกร้องให้ปรับมาตรฐานการตกค้างของสารเคมีเกษตรให้เป็นมาตรฐานเดียวกับยุโรป               นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้เคยเปิดเผยผลสำรวจอาหารสดทั่วประเทศในปี 2551 ทั้งหมด 159,684 ตัวอย่าง พบสารอันตรายปนเปื้อน 3,362 ตัวอย่าง คิดเป็น 2% แต่พบบ่อยมากที่สุดได้แก่ ยาฆ่าแมลงในผักกินใบ เช่น ผักชี คะน้า ผักกาดขาว กะหล่ำปลี 2,449 ตัวอย่าง ถ้าบริโภคเข้าไปก็จะไปขัดขวางการทำงานของเอ็นไซม์ในร่างกายทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ชัก หมดสติ รองลงมาคือการพบฟอร์มาลินอาหารทะเล 376 ตัวอย่าง ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ปวดท้องรุนแรง อาเจียน ท้องเดิน หมดสติ จนถึงเสียชีวิต ถ้าสัมผัสผิวหนังทำให้ระคายเคืองอักเสบได้ สารฟอกขาวที่มักใช้ในถั่วงอกและหน่อไม้พบ 83 ตัวอย่าง จะทำให้เกิดอาการหายใจขัด ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้อง อาเจียน อุจจาระร่วง ในรายที่แพ้ก็อาจช็อคและหมดสติ               หลายปีผ่านไปองค์การอาหารและยายังคงลงไปตรวจอีกระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม – 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555ทั้งหมด 1987 ตัวอย่าง พบจำนวนตัวอย่างไม่ผ่านเกณฑ์ 69 ตัวอย่าง แบ่งเป็นตัวอย่างผลไม้ที่สุ่มตรวจจากตลาดสดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ 60 ตัวอย่าง พบผักสดที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด ได้แก่ 1. คะน้า 2. กะหล่ำดอก 3. ต้นหอม               ในขณะที่ยังพบผักผลไม้ที่สุ่มตรวจจากซุปเปอร์มาร์เก็ตไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 9 ตัวอย่าง พบผักสดที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด คือ 1.คะน้า 2. มะเขือพวง 3. พริกไทย               ซึ่งผลสำรวจในรอบหลายปีที่ผ่านมาไม่ว่าจากองค์การอาหารและยา หรือจากองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคตรงกันคือ พบสารพิษในผักคะน้ามากที่สุดอย่างไม่เปลี่ยนแปลง               ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2553 ผศ.ดร.พรรัตน์ สินชัยพานิช นักวิจัยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยสำรวจอาหารปนเปื้อนที่เกินมาตรฐานความปลอดภัยในเขต 8 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2552-เมษายน2553 พบข้อมูลที่น่าสนใจหลายประการ ดังนี้               นมโรงเรียนชนิดพาสเจอร์ไรซ์มีปริมาณแบคทีเรียรวมเกินมาตรฐาน 25% นมชนิดยูเอ็ชทีเกิน 5%              ไส้กรอก ทั้งหมู ไก่และกุนเชียงมีสารกันบูดกว่า 36 %
      
       ในลูกชิ้นหมู ไก่และปลาพบการใช้สารกันบูดถึง 100% และการใช้ดินประสิวในระดับไม่ปลอดภัย 26%
      
       ผักผลไม้ 58 % พบการปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง โดยในสาลี่ ลูกพลับสด ส้ม องุ่นและถั่วฝักยาว พบมากถึง 78%
      
       แอปเปิล บร็คคเคอรี่ ดอกกะหล่ำ กะกล่ำปลีและแตงโมเกินมาตรฐาน 25 %-50%
      
       เห็ดหูหนูขาว พบสารเคมีกำจัดแมลงเกินมาตรฐาน 9% และสารฟอกขาว 56% สาหร่ายแกงจืด 36%
      
       กุ้งแห้งและปลาหมึกแห้งพบการปนเปื้อนเคมีกำจัดศัตรูพืช 64% และ 62 % ตามลำดับ
      
       โดยเฉพาะอย่างยิ่งพริกขี้หนูป่นพบสารเคมีกำจัดแมลง 100 % !!!!
      
       ก๋วยเตี๋ยวก็พบสารกันบูดเช่นกัน โดยเส้นใหญ่ พบ 88% เส้นเล็ก 75% เส้นหมี่ขาวและบะหมี่ 40% และ 50% 
              ในลูกชิ้นหมู ไก่และปลาพบการใช้สารกันบูดถึง 100% และการใช้ดินประสิวในระดับไม่ปลอดภัย 26%              ผักผลไม้ 58 % พบการปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง โดยในสาลี่ ลูกพลับสด ส้ม องุ่นและถั่วฝักยาว พบมากถึง 78%              แอปเปิล บร็คคเคอรี่ ดอกกะหล่ำ กะกล่ำปลีและแตงโมเกินมาตรฐาน 25 %-50%              เห็ดหูหนูขาว พบสารเคมีกำจัดแมลงเกินมาตรฐาน 9% และสารฟอกขาว 56% สาหร่ายแกงจืด 36%              กุ้งแห้งและปลาหมึกแห้งพบการปนเปื้อนเคมีกำจัดศัตรูพืช 64% และ 62 % ตามลำดับ              โดยเฉพาะอย่างยิ่งพริกขี้หนูป่นพบสารเคมีกำจัดแมลง 100 % !!!!              ก๋วยเตี๋ยวก็พบสารกันบูดเช่นกัน โดยเส้นใหญ่ พบ 88% เส้นเล็ก 75% เส้นหมี่ขาวและบะหมี่ 40% และ 50% ตามลำดับ อาหารกินเล่นอย่างสาหร่ายอบกรอบปรุงรส พบราพิษอะฟลาท็อกซิน 8%
      
       ในขณะที่ รศ.ดร.นวลศรี รักอริยะธรรม ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้สุ่มตรวจตัวอย่างอาหารที่นำเข้าจากต่างประเทศพบว่า
      
       อาหารสทะเลสดนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านพบการปนเปื้อนฟอร์มาลีน 67% และโลหาหนักสารหนู 4% ขณะที่ผักผลไม้ ปนเปื้อนสารเคมีกำจัดแมลง 36% สารฟอกขาวในผักแห้ง 47% สารตะกั่วในสาหร่ายและเยื่อไผ่ 8% และยังพบปรอทในก้านเห็ดหอม หน่อไม้แห้ง เห็ดหอม 17% และเยื่อไผ่ 12% ในขณะที่ขนมพร้อมบริโภคลูกอมและเยลลี่ พบสีสังเคราะห์เกินมาตรฐาน 20%
              ในขณะที่ รศ.ดร.นวลศรี รักอริยะธรรม ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้สุ่มตรวจตัวอย่างอาหารที่นำเข้าจากต่างประเทศพบว่า              อาหารสทะเลสดนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านพบการปนเปื้อนฟอร์มาลีน 67% และโลหาหนักสารหนู 4% ขณะที่ผักผลไม้ ปนเปื้อนสารเคมีกำจัดแมลง 36% สารฟอกขาวในผักแห้ง 47% สารตะกั่วในสาหร่ายและเยื่อไผ่ 8% และยังพบปรอทในก้านเห็ดหอม หน่อไม้แห้ง เห็ดหอม 17% และเยื่อไผ่ 12% ในขณะที่ขนมพร้อมบริโภคลูกอมและเยลลี่ พบสีสังเคราะห์เกินมาตรฐาน 20%      
        นอกจากนี้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2554 ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 19 น.ส.ประภาพรรณ พรหมหิรัญกุล นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 13 แห่งทั่วประเทศ ได้นำเสนอการประเมินความเสี่ยง ต่อการได้รับวัตถุกันเสียและจุลินทรีย์จากการบริโภคผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ทั่วประเทศ พบข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้               จาการตรวจทั้งหมด 837 ตัวอย่าง พบมีการใช้วัตถุกันเสีย ชนิดกรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก และกรดโปรปิโอนิก รวมทั้งสิ้น 658 ตัวอย่าง (คิดเป็น 78.61%) โดยเบเกอรี่ที่ตรวจพบเกินมาตรฐานได้แก่ โดนัท, เอแคลร์, เค้กกล้วยหอม, เค้กโรล และเค้กหน้าคัสตาร์ด, เค้กมีหน้า,ขนมปังสอดไส้, เค้กไม่มีหน้า, ซอฟท์เค้ก,ขนมปังแถว, เวเฟอร์, แซนวิช, คุกกี้, พิซซ่า, พัฟพาย,ครัวซองท์ เป็นต้น       
        13 กันยายน พ.ศ. 2553 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสถาบันการศึกษา 3 แห่ง ได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างผลไม้รถเข็นจากแหล่งจำหน่าย 38 ร้านในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลปรากฏว่า ผลไม้ 153 ตัวอย่าง มีการปนเปื้อนของแบคทีเรียโคลิฟอร์มหรือเชื้อจุลินทรีย์เกินกว่ามาตรฐานกำหนดสูงถึง 67.3% พบการปนเปื้อนหรือเจือปนของสารเคมีและปนเปื้อนของสารกันรา ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายสูงถึง 64.2% พบการปนเปื้อนของสารกันรา (ซาลิซิลิค) 40.7% และยังพบการปนเปื้อนของสีสังเคราะห์ถึง 16.3%               เพราะความไม่มีคุณธรรมของทั้งข้าราชการ นักการเมือง และพ่อค้า ใครจะเชื่อได้ว่าแม้วันนี้มีถึงขั้นปลอมผักปลอดสารพิษมาย้อมแมวขาย โดยใช้ทรายร้อนจัดสาดลงไปในแปลงปลูกผักเพื่อใช้ทรายร้อนจัดโดนใบผัก ก็จะทะลุเหมือนถูกแมลงกัดเจาะ แต่แท้จริงแล้วผักเหล่านั้นใช้สารเคมีพ่น เพื่อฆ่าแมลง และทำให้ประชาชนยังไม่สามารถไว้วางใจได้ว่าสินค้าที่ได้รับการรับรองคุณภาพว่าปลอดสารพิษที่คนไทยรับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ จะมีการวิ่งเต้นทั้งๆที่เป็นภัยต่อคนไทยหรือไม่?               ประชาชนคนไทยไม่สามารถรู้ได้ว่าอาหารอะไรเป็นพิษหรือไม่ เพราะไม่มีชุดเครื่องมือตรวจวัดด้วยตัวเอง ขาดความรู้ และการลงสำรวจแต่ละครั้งของภาครัฐก็หาได้มีมาตรการเด็ดขาดเพื่อไม่ให้มีสารพิษในการบริโภคของคนไทยไม่ ทำให้ทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้นนี้กำลังจะผ่านหายไปโดยที่ประชาชนก็จะลืมเลือนในท้ายที่สุด และกลายเป็นอาหารอันโอชะของนักการเมืองและข้าราชการในการเรียกพ่อค้านายทุนสามานย์มาเคาะกะลาเรียกผลประโยชน์เข้ากระเป๋าตัวเองต่อไป              ใครจะเชื่อว่าความคิดและสำนึกของคนไทยส่วนใหญ่ที่ยอมรับได้กับการโกงแต่ขอให้ฉันได้ด้วย กำลังเป็นสาเหตุสำคัญคนไทยเป็นโรคร้ายและเป็นโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นทุกวัน !!! 


ข้อมูลจาก http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000113548

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

รู้จัก Social Enterprise 2





Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More