นาข้าวอินทรีย์ - บ้านนาวิลิต สืบสานวิถีชีวิตเกษตกรรมดั้งเดิม
"ผมคิดว่าการทำนามันไม่ใช่แค่ไถหว่านเพาะปลูกเหมือนต้นไม้ แต่หมายถึงการสร้างชีวิตของเราขึ้นมา ชีวิตที่เป็นจริง และเมื่อเป็นอย่างนั้นแล้วชีวิตคนเราจึงไม่ใช่แค่ข้าวปลาอาหารที่เป็นรูปธรรม หรือข้าวปลาอาหารที่ตีราคา แต่หมายถึงว่า เราคงต้องสร้างอะไรอีกหลายอย่างที่เกี่ยวเนื่องกัน ไม่ว่าจะเป็นชีวิตครอบครัว ชีวิตชุมชนที่ถูกทำลายหายไป ที่จะต้องมาพร้อมกับการฟื้นฟู
เพราะฉะนั้นผมคิดว่า บางทีอาจจะไม่ได้หมายถึงแต่ผู้ต้องการจะไปปลูกข้าว แต่ผมอยากจะเชิญชวนให้พวกเราในสังคมที่กำลังมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของโลก และความเสื่อมสลายทั้งหลายในโลกนี้ มาช่วยกัน “ฟื้นสิ่งที่เราเสียไป” โดยเอาเรื่อง “ข้าว” เป็นอุทาหรณ์ ทั้งเรื่องความสัมพันธ์ คุณค่าในครอบครัวที่เราให้ความสำคัญน้อยลง เพราะถูกกระแสการแข่งขันมันดึงออกไป รวมถึงเรื่องเพื่อน ตลอดจนความสำคัญที่เราจะโยงใยกันให้มันเป็นชุมชน เป็นเครือข่ายที่จะเกื้อหนุนกันและกัน ประคองซึ่งกันและกัน ในสภาวะที่กระแสโลกมันถาโถม เอารัดเอาเปรียบ เพื่อให้เราที่เป็นประชาชน ไม่ว่าจะเป็นคนเมือง คนชนบท หรือคนทุกๆ สังคมได้เติบโตขึ้นมาโดยที่ไม่มีใครมาเบียดเบียน"
เพราะฉะนั้นผมคิดว่า บางทีอาจจะไม่ได้หมายถึงแต่ผู้ต้องการจะไปปลูกข้าว แต่ผมอยากจะเชิญชวนให้พวกเราในสังคมที่กำลังมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของโลก และความเสื่อมสลายทั้งหลายในโลกนี้ มาช่วยกัน “ฟื้นสิ่งที่เราเสียไป” โดยเอาเรื่อง “ข้าว” เป็นอุทาหรณ์ ทั้งเรื่องความสัมพันธ์ คุณค่าในครอบครัวที่เราให้ความสำคัญน้อยลง เพราะถูกกระแสการแข่งขันมันดึงออกไป รวมถึงเรื่องเพื่อน ตลอดจนความสำคัญที่เราจะโยงใยกันให้มันเป็นชุมชน เป็นเครือข่ายที่จะเกื้อหนุนกันและกัน ประคองซึ่งกันและกัน ในสภาวะที่กระแสโลกมันถาโถม เอารัดเอาเปรียบ เพื่อให้เราที่เป็นประชาชน ไม่ว่าจะเป็นคนเมือง คนชนบท หรือคนทุกๆ สังคมได้เติบโตขึ้นมาโดยที่ไม่มีใครมาเบียดเบียน"
การทำนาไม่เหนื่อย ถ้าไม่มีใครทำนาบนหลังเรา เป็นคำเปรียบเปรยของผู้ก่อตั้ง ซึ่งอาจจะต้องการสื่อถึงความหมายบางอย่างที่สะท้อนถึง "สภาพสังคม" ที่เราแต่ละคนยังคงต้องอยู่ร่วมกัน และ"การเอารัด เอาเปรียบ" นั้นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนหลายๆ คนถอยหลังออกมา และคงยากที่จะให้สิ่งเหล่านี้หายสาบสูญไป
คุณวิลิต เตชะไพบูลย์ เป็นคนเมืองหลวงที่เลือกที่จะตัดตัวเองออกจากระบบการแข่งขันและระบบการบังคับกด ขี่ในสังคม ผันตัวเองมาเป็นชาวนา โดยใช้ที่ดินใน บ้านทุ่งพร้าว หมู่ 8 ต.ท่ายาง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ ทำ "นาข้าวอินทรีย์" บนพื้นที่ 8 ไร่ของเขา ข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่เคยหายสาบสูญไปหลายต่อหลายสายพันธุ์ถูกนำกลับมาปลูก ใหม่อีกครั้ง “กันตัง” “นางพญา” “บายศรี” อาจไม่ใช่ข้าวพันธุ์ยอดนิยมในท้องตลาด แต่เป็นพันธุ์หลักของ “นาวิลิต” ซึ่งผลิตออกจำหน่ายใช้ชื่อยี่ห้อของตัวเขาเองกับโลโก้น้องวัวผู้น่ารัก เหมือนๆ กับชื่อร้านค้ากรีนช็อปภายในอาคารสำนักงานกลางกรุง
รู้จักผู้ก่อตั้ง บ้านนาวิลิต
คนธรรมดาคนหนึ่ง ที่เคยใช้ชีวิตอยู่กับความมั่งมี หรูหราในตระกูลใหญ่ กลับหันหลังให้กับความศิวิไลย์เหล่านั้นได้อย่างไร Greenlattes จึงต้องนำเรื่องราวที่น่าแบ่งปันอย่างนี้มาแชร์ให้เพื่อนได้อ่าน ซึ่งอาจจะช่วยให้เพื่อนๆ หลายคนเกิดแรงบันดาลใจที่จะทำสิ่งใด สิ่งหนึ่งเพื่อสังคมรอบตัวเรามากขึ้น โดยไม่ปล่อยให้กระแส "นิยมวัตถุ" กลืนกินความเป็น "วิถีไทย" ไป
ย้อนไปเมื่อ 8 ปีที่แล้ว หลังจากตัดสินใจทิ้งธุรกิจพันล้าน ทิ้งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการโรงแรมรีเจนท์ชะอำ อันเป็นธุรกิจของครอบครัว ‘วิลิต เตชะไพบูลย์’ ทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูลมหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ก็หันเหชีวิตไปเป็นเกษตรกรเต็มตัว และดูเหมือนทุ่งนาเขียวขจีที่เขาลงมือหว่านไถด้วยตัวเองจะน่าหลงใหลกว่าห้อง แอร์เย็นฉ่ำ เขาและภรรยา (กิ่งกานต์ เตชะไพบูลย์) พร้อมด้วยลูกชายวัยน่ารักทั้ง 2 คน (เพลงพัชร และพลพัชร เตชะไพบูลย์) จึงยังคงลงหลักปักฐานอยู่ที่บ้านทุ่งพร้าว อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
วิลิต เท้าความถึงเหตุผลที่เขาหันไปใช้ชีวิตแบบชาวไร่ชาวนา อีกทั้งยังเป็นแกนนำของกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรที่มีบาทบาทในการช่วยเหลือ ฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่ของบรรดาชาวนาชาวไร่ให้ดีขึ้น ว่า เป็นเพราะเขาเบื่อหน่ายการทำธุรกิจซึ่งเต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งขัน และรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ก่อให้เกิดคุณค่าใดๆ ในชีวิต
คือผมว่าวงจรธุรกิจซึ่งเต็มไปด้วยการแข่งขันนั้นมันมอมเมาชีวิตเราให้ วิ่งไปไม่รู้จบ การแข่งขันทางธุรกิจอย่างบ้าระห่ำเป็นสิ่งที่ผมรับไม่ได้ ถ้าเราจะยืนอยู่บนโลกที่บ้าคลั่งอย่างนี้ก็คงจะเสียเวลาเปล่า ถึงรวยไปก็ไม่มีประโยชน์ เลยคิดว่าน่าจะหาอะไรที่เหมาะกับชีวิตเรา ผมก็ยึดคำของหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร บิดาแห่งการเกษตรไทย ที่บอกว่า ‘เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง’ ผมเลยเลือกมาเป็นเกษตรกร ก็เริ่มมาทำนาตอนปี 2543 จากนั้นก็ได้มีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อนชาวนาในปี 2544-2545 โดยมีการก่อตั้งกลุ่มฟื้นฟูเกษตรกรเมืองเพชร พร้อมๆ กับเริ่มขยายออกไปในนามของเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย คือเราพยายามผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาของชาวนาอย่างยั่งยืน
ผมว่าถ้าไปอยู่ตรงนั้นแล้วจะเห็นปัญหานะ บางครั้งเกษตรกรที่เป็นเพื่อนบ้านกันเขาก็ยังถูกมอมเมาอยู่แต่เขาไม่รู้ตัว ผมก็เหมือนปลา 2 น้ำ ซึ่งได้เห็นทั้งแง่มุมของนักธุรกิจและมุมของเกษตรกร เมื่อได้รู้ได้เห็นถึงปัญหาแล้วเรายังนิ่งดูดาย นั่งมีความสุขอยู่คนเดียวขณะที่สังคมรอบข้างล่มสลายหมดผมก็คงทำไม่ได้ เพราะเมื่อสังคมล่มสลายบ้านเมืองก็จะมีแต่โจรขโมย เราเองก็คงอยู่อย่างไม่เป็นสุข ผมว่าถ้าเรารู้จักใช้ชีวิตให้มีประโยชน์ เมื่อตายก็จะตายอย่างมีคุณค่า
ร้านบ้านนาวิลิต สืบสานวิถีเกษตรธรรมชาติ
เพื่อการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่ร่วมเส้นทางเดียวกัน คุณวิลิตจึงได้เปิดร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกลุ่ม และนาอินทรีย์ ให้เป็นช่องทางสร้างรายได้ นอกเหนือจากที่จำหน่ายในท้องถิ่น และผ่านตัวแทนค้าปลีกต่างๆ
ร้านกรีนเล็กๆ แห่งนี้เริ่มเปิดบ้านดำเนินการเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2550 โดยรวบรวมอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกๆ คน และยังสามารถช่วยค้ำจุนสิ่งแวดล้อม ตลอดจนโลกกลมๆ ใบนี้ไปได้พร้อมๆ กัน
ร้านกรีนเล็กๆ แห่งนี้เริ่มเปิดบ้านดำเนินการเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2550 โดยรวบรวมอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกๆ คน และยังสามารถช่วยค้ำจุนสิ่งแวดล้อม ตลอดจนโลกกลมๆ ใบนี้ไปได้พร้อมๆ กัน
ผมมีสมาชิกในนาที่ช่วยกันทำอยู่ประมาณ 7-8 คน อีกอย่างหนึ่งก็คิดถึงครอบครัวด้วยว่า เราน่าจะมีกิจกรรมที่เป็นเรื่องเป็นราว ช่วยกันทำได้ทุกส่วน และมีผลตอบแทนบ้าง เพราะทุกคนที่มาอยู่กับผมๆ ก็ต้องคิดถึงอนาคตของเขาด้วย ถ้าเราผลิตแต่ข้าวอย่างเดียวแล้วบริโภคเหมือนสมัยก่อน มันอาจจะไม่เพียงพอ เลยคิดว่าน่าจะมีระบบการค้าเป็นธุรกิจเล็กๆ จะได้เป็นแหล่งสร้างรายได้ให้ทุกคน และปันผลในระยะยาวด้วย
ประมาณปี 2547 เราเริ่มจดเป็น “ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร้านนาวิลิต” แล้วผมก็ไปเช่าพื้นที่เล็กๆ ทำร้านอยู่ที่ ต.ท่ายาง ขายข้าวเราเอง กะปิ น้ำตาลโตนด แต่เนื่องจากสินค้าปลอดสารพิษยังไม่ค่อยเป็นที่สนใจของตลาดต่างจังหวัดสัก เท่าไหร่ เราจึงขายของอย่างอื่นด้วย คล้ายๆ มินิมาร์ทเล็กๆ แต่ตอนนี้ร้านนั้นปิดไปแล้ว
สำหรับร้านบ้านนาวิลิต ที่อาคารรีเจ้นท์ เฮ้าส์ กรุงเทพฯ ก็เป็นตึกของที่บ้านผมเอง แล้วเราคิดว่าคนในเขตเมืองเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกว่า ถึงขั้นนี้เรายังไม่ได้เดินหน้าเต็มที่ แต่ก็ไม่ได้รีบร้อนอะไร แค่พยายามจะกระจายข้าวพันธุ์พื้นบ้านออกไปตามร้านกรีนและจุดย่อยๆ ต่างๆ เหมือนสินค้าฝากขายหรือขายส่งด้วย แล้วก็ทำเวบไซต์เล็กๆ ขึ้นมาให้คนที่สนใจได้รู้
แวะไปอุดหนุนผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
สำหรับคนที่ต้องการซื้อข้าวเกษตรอินทรีย์บ้านนาวิลิต สามารถหาซื้อได้จาก “ร้านบ้านนาวิลิต”ซึ่งเพิ่งเปิดเมื่อปลายปี 2550 นอก จากข้าวเกษตรอินทรีย์แล้ว ที่นี่ยังขายอาหารปลอดสารพิษ พวกผักสด ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ นม เนย ยาสมุนไพร ธัญพืช ขนมคบเคี้ยว น้ำพริก และอื่นๆ
- สถานที่ : ชั้น 1 อาคารรีเจ้นท์ เฮ้า ใกล้สถานี BTS ราชดำริ โทร 089-481-8976
- เปิดบริการ : วันจันทร์- ศุกร์ เวลา 8.00 น.- 19.00 น. วันเสาร์ เวลา 8.00 น. - 12.00 น.
- เว็บไซต์ : http:www.baannavilit.co
m
Posted in: ภาคกลาง,สินค้าน่าอุดหนุน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น