เรื่อง : อาศิรา พนาราม
ภาพ : สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์ และ BE Magazine
ภาพ : สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์ และ BE Magazine
BE Magazine นิตยสารไลฟ์สไตล์น้องใหม่อายุเพียงขวบกว่าๆ เล่มนี้ บางครั้งคุณอาจเห็นตามแผงหนังสือ แต่บางครั้งก็เห็นจาก “คนขาย” ที่มายืนขายตามสถานีรถไฟฟ้า ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ BE Magazine ไม่ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อกินส่วนแบ่งในตลาดนิตยสารเพียงอย่างเดียว แต่ได้วางเป้าให้ตัวเองเป็น “นิตยสารเพื่อสังคมเล่มแรกของเมืองไทย” ที่มุ่งช่วยเหลือคนที่ขาดโอกาสในสังคม ซึ่งก็คือกลุ่มนักขายของนิตยสารนั่นเอง
อารันดร์ อาชาพิลาส คนหนุ่มวัย 23 ผู้ก่อตั้ง Be Magazine มองเห็นความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจเพื่อสังคมในเมืองไทย โดยแรงผลักดันของเขาคือ ความต้องการที่จะต่อสู้กับอาชีพที่ไม่ควรมีในสังคม เช่น ขอทาน ควาญช้าง เด็กขายพวงมาลัยตามสี่แยก ไปจนถึงคนไร้บ้าน ไร้อาชีพ ซึ่งสำหรับอารันดร์แล้วการต่อสู้ครั้งนี้คงไม่ใช่การกวาดล้างหรือขับไล่ แต่เป็นการทำให้เขาเหล่านั้นมี “อาชีพทางเลือก” เข้ามาทดแทน
“ข้ามกำแพง 8,000 บาท”
“ปัจจุบันคนไร้บ้านหรือผู้ด้อยโอกาสมักถูกกีดกันออกจากสังคม แม้หากมีการช่วยเหลือก็มักจะมาในรูปแบบของการบริจาคเป็นครั้งคราว ซึ่งไม่ใช่ทางแก้ที่ยั่งยืนครับ” คุณอารันดร์เริ่มต้นการสนทนากับเราอย่างตรงประเด็น
“ปัจจุบันคนไร้บ้านหรือผู้ด้อยโอกาสมักถูกกีดกันออกจากสังคม แม้หากมีการช่วยเหลือก็มักจะมาในรูปแบบของการบริจาคเป็นครั้งคราว ซึ่งไม่ใช่ทางแก้ที่ยั่งยืนครับ” คุณอารันดร์เริ่มต้นการสนทนากับเราอย่างตรงประเด็น
“มันน่าจะดีกว่าไม่ใช่หรือ หากพวกเขาเหล่านั้นจะยืนหยัดได้ด้วยตนเอง โดยอาศัยความช่วยเหลือจากธุรกิจเพื่อสังคม โชคดีที่ค่าครองชีพโดยภาพรวมของประเทศเราไม่สูงมาก ฉะนั้น การที่คนยากไร้คนหนึ่งจะลืมตาอ้าปากขึ้นมาได้จึงไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป ขอเพียงให้เขาข้ามกำแพงข้อจำกัดทางสังคมเรื่องที่อยู่ เสื้อผ้า อาหารไปได้…”
อารันดร์เรียกกำแพงนี้ว่า “กำแพง 8,000 บาท” เพราะหากคุณมีเงิน 8,000 บาท คุณก็มีพอสำหรับค่าอาหาร ค่าเช่าบ้านที่มีห้องอาบน้ำ ค่าเสื้อผ้าสำหรับแต่งตัวออกไปหางานทำ ซึ่งนี่เองคือ กำแพงที่หากคนๆ หนึ่งสามารถกระโดดข้ามไปแล้ว คนๆ นั้นก็สามารถดิ้นรนเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้ ขอเพียงว่า เงินนั้นต้องเป็นเงินที่คุณหามาด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง ซึ่งจะช่วยสร้างจิตสำนึกในการพึ่งตนเองได้มากกว่าการรับเงินให้เปล่าหลายเท่าทวีคูณ
ทำไมถึงเป็น BE Magazine
อารันดร์เลือกธุรกิจนิตยสารด้วยเหตุผลหลายอย่าง เริ่มจากเขาเห็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จของ Big Issue นิตยสารเพื่อสังคมในประเทศอังกฤษ ประกอบกับในเมืองไทยนิตยสารก็เป็นสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตไม่สูงมาก สามารถขายได้โดยไม่ต้องขอ อ.ย. ทำให้ผู้บริโภคสะดวกใจที่จะซื้อจากคนขายข้างถนน นอกจากนั้นยังเป็นสินค้าที่เปิดโอกาสให้คนทำได้พัฒนาตนเองอย่างไม่มีข้อจำกัด
อารันดร์เลือกธุรกิจนิตยสารด้วยเหตุผลหลายอย่าง เริ่มจากเขาเห็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จของ Big Issue นิตยสารเพื่อสังคมในประเทศอังกฤษ ประกอบกับในเมืองไทยนิตยสารก็เป็นสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตไม่สูงมาก สามารถขายได้โดยไม่ต้องขอ อ.ย. ทำให้ผู้บริโภคสะดวกใจที่จะซื้อจากคนขายข้างถนน นอกจากนั้นยังเป็นสินค้าที่เปิดโอกาสให้คนทำได้พัฒนาตนเองอย่างไม่มีข้อจำกัด
ทุกวันนี้ BE Magazine เปิดโอกาสให้คนไร้บ้านและคนขาดโอกาส (ที่ไม่มีแม้แต่ทุนเริ่มต้น) มารับนิตยสารไปขายฟรีๆ 30 เล่มแรก (ในราคาขายเล่มละ 45 บาท) สามารถยืนขายที่รถไฟฟ้าทั้ง BTS และ MRT ในช่วงวันธรรมดาหลังเลิกงาน โดยทางนิตยสารจะทำการอบรมเทคนิคการขายให้ด้วย หลังจากนั้น เมื่อขายได้หมด คนขายคนหนึ่งจะได้เงิน 1,350 บาท มาเป็นเงินตั้งต้น ครั้งต่อไปเขาก็มารับนิตยสารไปขายได้อีกในราคาเล่มละ 25 บาท ซึ่งพอขายได้ครั้งนี้เขาจะมีกำไร 20 บาทต่อเล่ม และหากเขาสะสมรายได้ต่อไปเรื่อยๆ เขาก็จะข้ามกำแพง 8,000 บาทนี้ไปได้ในที่สุด
“เอ็นดูเขา เอ็นเราไม่ขาด” หัวใจของธุรกิจเพื่อสังคม
“อะไรที่เริ่มทำเป็นครั้งแรก มันจะล้มเหลวแน่นอน” นั่นคือ สัจธรรมที่ทำให้คนล้มแล้วต้องลุก ในช่วงแรกอารันดร์วาดฝันว่าโมเดลที่ประสบความสำเร็จแล้วของหนังสือ Big Issue (UK) จะต้องสำเร็จใน “เมืองไทยใจดี” ด้วยเช่นกัน ครั้งแรกเขาตั้งราคาขาย Be Magazine เพียงแค่เล่มละ 20 บาท (โดยคิดเงินคนยากไร้แค่เล่มละ 1 บาท) แต่อะไรๆ ก็ไม่ได้สวยงามเหมือนดั่งฝัน เอ็นเขาจึงขาดผึงตั้งแต่ 2-3 เล่มแรก นั่นเป็นเพราะธุรกิจเพื่อสังคมยังใหม่มากในเมืองไทย ยากที่จะทำให้เอเจนซี่โฆษณาและคนยากไร้เข้าใจได้ถ่องแท้ รายได้เพียงเท่านั้นยังไม่สามารถหล่อเลี้ยงธุรกิจได้
“อะไรที่เริ่มทำเป็นครั้งแรก มันจะล้มเหลวแน่นอน” นั่นคือ สัจธรรมที่ทำให้คนล้มแล้วต้องลุก ในช่วงแรกอารันดร์วาดฝันว่าโมเดลที่ประสบความสำเร็จแล้วของหนังสือ Big Issue (UK) จะต้องสำเร็จใน “เมืองไทยใจดี” ด้วยเช่นกัน ครั้งแรกเขาตั้งราคาขาย Be Magazine เพียงแค่เล่มละ 20 บาท (โดยคิดเงินคนยากไร้แค่เล่มละ 1 บาท) แต่อะไรๆ ก็ไม่ได้สวยงามเหมือนดั่งฝัน เอ็นเขาจึงขาดผึงตั้งแต่ 2-3 เล่มแรก นั่นเป็นเพราะธุรกิจเพื่อสังคมยังใหม่มากในเมืองไทย ยากที่จะทำให้เอเจนซี่โฆษณาและคนยากไร้เข้าใจได้ถ่องแท้ รายได้เพียงเท่านั้นยังไม่สามารถหล่อเลี้ยงธุรกิจได้
เล่มถัดมาเขาจึงปรับราคาหนังสือเป็น 45 บาท เอากำไร 25 บาทต่อเล่ม ซึ่งทำให้ครอบคลุมต้นทุนการผลิต (ซึ่งเขาได้ประมาณการไว้อย่างดี) บวกกับค่าโฆษณาที่เริ่มเข้ามามากขึ้น ก็ทำให้อารันดร์พอมีรายได้เข้ามาหมุนเวียนในบริษัท อย่างไรก็ดี เขามองว่าจุดสำคัญที่สุดที่ทำให้ธุรกิจนี้ลืมตาอ้าปาก ก็คือ การที่ “ธุรกิจเพื่อสังคม” เริ่มเป็นที่รับรู้ของคนในวงที่กว้างขึ้น ตัวเขาเองได้ทำการประชาสัมพันธ์และออกสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง “นี่แหละครับที่ทำให้ BE Magazine เป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ”
ขอโอกาสจากผู้ยากไร้ ให้โอกาสกับตัวเอง
จริงอยู่ที่คนลำบากยากไร้มีอยู่ทั่วเมือง แต่จะให้ลงพื้นที่ชักชวนกันทีละคนสองคนคงไม่ใช่วิธีที่เหมาะสม อารันดร์เลือกเดินเข้าติดต่อกับสภาสังคมสงเคราะห์ ซึ่งมีข้อมูลของคนไร้บ้านอยู่แล้ว รวมทั้งยังได้ติดต่อเข้าไปหากรมราชฑัณฑ์ เพื่อนำเสนออาชีพทางเลือกให้กับนักโทษที่พร้อมจะคืนสู่สังคม
“มันไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด ใช่ว่าพอผมไปชักชวนแล้ว พวกเขาจะตามกันมาเป็น 100 คน ไปพูดครั้งหนึ่งๆ อาจมีคนสนใจทำเพียง 10 คน แต่ดีที่ว่าเมื่อพวกเขาทำแล้วเห็นผลด้านบวก เขาก็ไปชักชวนคนรู้จักให้เข้ามาทำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือบางคนได้เห็น BE Magazine ในสื่อต่างๆ ก็จะแนะนำคนละแวกบ้านที่ลำบากให้เดินมาสร้างอาชีพกับเรา”
จริงอยู่ที่คนลำบากยากไร้มีอยู่ทั่วเมือง แต่จะให้ลงพื้นที่ชักชวนกันทีละคนสองคนคงไม่ใช่วิธีที่เหมาะสม อารันดร์เลือกเดินเข้าติดต่อกับสภาสังคมสงเคราะห์ ซึ่งมีข้อมูลของคนไร้บ้านอยู่แล้ว รวมทั้งยังได้ติดต่อเข้าไปหากรมราชฑัณฑ์ เพื่อนำเสนออาชีพทางเลือกให้กับนักโทษที่พร้อมจะคืนสู่สังคม
“มันไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด ใช่ว่าพอผมไปชักชวนแล้ว พวกเขาจะตามกันมาเป็น 100 คน ไปพูดครั้งหนึ่งๆ อาจมีคนสนใจทำเพียง 10 คน แต่ดีที่ว่าเมื่อพวกเขาทำแล้วเห็นผลด้านบวก เขาก็ไปชักชวนคนรู้จักให้เข้ามาทำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือบางคนได้เห็น BE Magazine ในสื่อต่างๆ ก็จะแนะนำคนละแวกบ้านที่ลำบากให้เดินมาสร้างอาชีพกับเรา”
แก้ปัญหาสังคมด้วยธุรกิจเพื่อสังคม
“ธุรกิจเป็นระบบที่นำมาใช้แก้ปัญหาได้เร็วที่สุด เพราะหากเรามัวแต่รอการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น แก้กฎหมาย แก้กฎระเบียบของรัฐ ฯลฯ ถ้าชาวบ้านไม่เข้าใจกฎหมายดีพอ ก็เท่ากับว่าเขาใช้ประโยชน์จากตรงนั้นไม่ได้เลย แต่ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้เร็ว ไม่ต้องรออนุมัติหลายขั้นตอน ปรับตัวได้ง่าย และเข้าถึงปัญหาได้ตรงจุด ฉะนั้น หากเรามีการวางระบบที่ดี ร่วมกับการกระจายข่าวสารที่ทั่วถึง สังคมก็น่าจะตอบรับและให้ความร่วมมือกับเราไม่ยาก”
“ธุรกิจเป็นระบบที่นำมาใช้แก้ปัญหาได้เร็วที่สุด เพราะหากเรามัวแต่รอการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น แก้กฎหมาย แก้กฎระเบียบของรัฐ ฯลฯ ถ้าชาวบ้านไม่เข้าใจกฎหมายดีพอ ก็เท่ากับว่าเขาใช้ประโยชน์จากตรงนั้นไม่ได้เลย แต่ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้เร็ว ไม่ต้องรออนุมัติหลายขั้นตอน ปรับตัวได้ง่าย และเข้าถึงปัญหาได้ตรงจุด ฉะนั้น หากเรามีการวางระบบที่ดี ร่วมกับการกระจายข่าวสารที่ทั่วถึง สังคมก็น่าจะตอบรับและให้ความร่วมมือกับเราไม่ยาก”
อารันดร์มองว่า ธุรกิจเพื่อสังคมเหมาะอย่างยิ่งกับประเทศไทย เพราะคนไทยเป็นชนชาติที่มีเมตตา นิยมการช่วยเหลือเกื้อกูลและการให้ แต่ปัจจุบันแหล่งรับบริจาคหลายแห่งไม่มีระบบที่ชัดเจน เช่น บริจาคเงินทำบุญแล้วก็ยังไม่รู้ว่าเงินนั้นจะไปไหน ในทางตรงกันข้าม ธุรกิจเพื่อสังคมจะเน้นการสร้างระบบที่ชัดเจน โปร่งใส ยกตัวอย่างเช่น BE Magazine ที่ใช้นิตยสารเป็นสื่อกลางให้ “คนได้ช่วยคน” ด้วยเงินเพียง 45 บาทต่อเดือน จากการซื้อนิตยสารหนึ่งเล่มจากนักขายยากไร้ เห็นชัดเลยว่า เป็นการช่วยทางตรง หรือแม้กระทั่งกับการสมัครสมาชิกรายปี เงิน 240 บาทจากค่าสมาชิกนั้น ก็จะนำไปบริจาคให้กับมูลนิธิที่ผู้อ่านเลือกเองตั้งแต่แรกสมัคร เมื่อผู้อ่านได้รับหนังสือ ก็จะได้รับใบเสร็จเงินบริจาคจากมูลนิธินั้นๆ ด้วย
“ผมว่าโมเดลธุรกิจที่ดีและโปร่งใส จะดึงคนจำนวนมากให้เข้ามาช่วยกัน เพราะคนคนเดียวเปลี่ยนโลกไม่ได้ครับ ความช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ แต่มาจากคนจำนวนมาก คืออีกวิธีที่ทำให้การแก้ปัญหาเดินเข้าใกล้ความสำเร็จเร็วขึ้น”
TIPS : “ธุรกิจ – รัฐ – มวลชน” กลไกขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคม
อารันดร์มองว่า การแก้ปัญหาสังคมควรต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้ง 3 ส่วน นั่นคือ ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน และภาครัฐ เราจึงถามอารันดร์ว่า ในมุมมองของเขา รัฐสามารถช่วยเหลือธุรกิจเพื่อสังคมได้อย่างไรบ้าง และนี่คือข้อเสนอจากอารันดร์แห่ง Be Magazine
1. มีองค์กรกลางที่จัดสรรข้อมูลให้กับผู้ที่สนใจในธุรกิจเพื่อสังคม ธุรกิจเพื่อสังคมหลายแห่งต้องการข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ แต่ไม่รู้ว่าต้องไปติดต่อกับใคร หรือกว่าจะได้ข้อมูลทีก็นานแสนนาน เพราะไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง ฉะนั้น ควรมีเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานกลางที่รับเรื่องไปแล้วคอยประสานให้ว่า คุณควรติดต่อกับหน่วยงานไหน เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่สะดวก
2. สื่อภาครัฐควรเปิดช่องทางให้ธุรกิจเพื่อสังคมมากขึ้น ทุกวันนี้มีหลายคนที่กำลังทำสิ่งดีๆ แต่ไม่มีใครรับรู้ เพราะธุรกิจเพื่อสังคมจะอยู่ได้ก็ต้องอาศัยสังคมสนับสนุน และสังคมวงกว้างจะรู้ได้ก็ต้องอาศัยสื่อเป็นหลัก
3. มีเว็บไซต์กลางที่สนับสนุนผู้ที่สนใจทำธุรกิจเพื่อสังคม Resource นี้ควรมีขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้ความรู้เรื่องแผนธุรกิจเพื่อสังคมต่างๆ อาจมีกิจกรรมโปรโมทเพื่อระดมทุนจากผู้ใจบุญ และเพื่อจัดสรรทุนให้กับธุรกิจเพื่อสังคม รวมถึงมีกิจกรรมอื่นๆ ที่ผลักดันแนวคิดนี้ เช่น แข่งขันสร้างแผนธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อรับทุนไปดำเนินงานจริง จัดนิทรรศการให้ความรู้กับบุคคลทั่วไป ฯลฯ
|
Read more: http://article.tcdcconnect.com/interview/be-magazine-%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%a1-%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%ad#ixzz2CG1nGNh2
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น