7,000,000,000

PEOPLE CONSUMING WHAT NOW ?

WHAT'S WRONG WITH OUR FOOD SYSTEM ?

Every night 1 in 7 people go to bed hungry-that's almost 1 billion people worldwide.

Polluted river water

Kills as many people as a nuclear explosion.

THE RECYCLE CHRONICLES

Lack of knowledge hinders recycling efforts.

Everybody wants happiness

Nobody wants pain, but you can't have a rainbow with out a little rain.

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข้าวหอมคุณยาย ผลิตโดย ชาวนา ผู้ มีฟาร์มสุข (ไม่) จำกัด

 
ข้าวหอมปลอดสารพิษ ผลิตจากความสุข เพื่อความสุขของทุกคน
Toxic-free Brown Fragrant Rice, Produce from Happiness, For Your Own Happiness

เราเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ ถ้าเลือกได้คงเลือกที่จะมีความสุข และความสุขที่ใกล้ตัวที่สุด คือการที่เราทุกคนมีสุขภาพดี และเมื่อเรามีความสุขแล้ว เราก็อยากที่จะแบ่งปันความสุขนั้นไปให้คนรอบข้าง

นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ “ข้าวหอมคุณยาย” ผลิตโดย “บริษัท มีฟาร์มสุข (ไม่) จำกัด” เพราะเราเชื่อว่า ถ้าเราสามารถสร้างความสุขได้ในทุกขั้นตอนของการผลิต เริ่มจากการปลูกข้าวโดยไม่ใช้สารพิษ มีต้นทุนที่ต่ำ และขายข้าวได้ในราคาที่เป็นธรรม ชาวนาที่ปลูกข้าวก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข เราซื้อข้าวจากชาวนา มาผ่านกระบวนการผลิตที่ดี ได้ข้าวกล้องที่มีคุณภาพ นำมาจำหน่ายในราคาที่เหมาะสม เราก็สามารถดำเนินการได้อย่างมีความสุข ลูกค้าได้บริโภคข้าวกล้องที่มีคุณภาพ ในราคาเหมาะสม ลูกค้าก็จะมีความสุข และสามารถที่จะแบ่งปันความสุขนี้ไปให้กับคนรอบข้างได้อย่างง่ายที่สุด

แล้วคุณหละ พร้อมจะแบ่งปันความสุขหรือยัง..

 Products

 Kao Hom Khun Yaay (ข้าวหอมคุณยาย) ขนาด 0.5 kg ราคา 40 บาท/ 1 kg. ราคา 70 บาท / ขนาด 2 kg. ราคา 130 บาท

ขั้นตอนการสั่งซื้อ

1. ส่งชื่อ เบอร์ติดต่อ วัน/เวลา ที่ต้องการรับสินค้า และจำนวนสินค้าที่ต้องการสั่งผ่านทาง Facebook ในช่อง Message หน้า Profile มีฟาร์มสุข (ไม่) จำกัด หรือ E-mail: happyricefarm@hotmail.com

2. Happy Farmer จะทำการติดต่อท่านภายใน 24 ชม.อีกครั้งก่อนการส่งสินค้า


http://www.meefarmsook.com/Site/About_us.html
http://www.facebook.com/KaoHomKhunYay/info
:-

Head Office:-
1912/1 Moo 1, Rangrodfaisaikao Road, Somrong Nua, Muang, Samutprakarn, Thailand 10270

Rice Field & Rice Mill :-
30/1 Moo 6, Nong Sang District, Saraburi Province, Thailand 18170

Mobile: +66 8 1 822 7924
Fax: +66(0) 2744 3556
e-mail: fon_latte@me.com

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

way magazine

  • way magazine

    นิตยสารรายเดือน เนื้อหาเกาะเกี่ยวกับบุคคล ชีวิต สังคม และโลก ในทางเลือกอื่นๆ อีกมากที่อาจไม่ได้ปรากฏในสื่อกระแสหลักทั่วไป


    • สำนักงาน นิตยสาร way

      137 (1139/14) ลาดพร้าว 101 คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์ 0-2736-9918 โทรสาร 0-2736-8891 waymagazine@yahoo.com



    Websitehttp://waymagazine.wordpress.com/

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ร้านปลาจะเพียร


ปลาจะเพียรทำงานร่วมกับกลุ่ม ThaiCraft Fair Trade นำสินค้าคุณภาพดีจากหลายๆ ชุมชนมาขายผ่านหน้าร้าน โดยเน้นราคาที่เป็นธรรม ทั้งกับผู้ผลิตและผู้บริโภค และหวังว่าจะช่วยเพิ่มช่่องทางการขายและรายได้ให้กับชุมชนได้มากขึ้นและสามารถเข้าถึงสินค้าจากชุมชนได้ง่ายขึ้น สนับสนุนผลิตภัณฑ์จากชุมชนได้ที่ร้านปลาจะเพียร อยู่ในโครงการ GOOD LITTLE SPACE สยามสแคว์ซอย 6 
“PLAJAPIAN” is a Social Enterprise that aims to help distribute + develop the products of the village in a sustainable way
Mission
“ปลาจะเพียร” คือ กิจการเพื่อสังคมเเบบ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ที่มุ่งหวังการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน
“ปลาจะเพียร” มุ่งหวังว่า ผู้ที่ซื้อจะกลายเป็นเพื่อนกับผู้ผลิต และจะรับทราบข่าวคราวความเคลื่อนไหวของชุมชนนั้นๆ ไปตลอด
“ปลาจะเพียร” สนับสนุน‘ความคิดสร้างสรรค์และการตลาด’ เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าต่อชิ้นมีกำไรมากขึ้น หรือขายได้ในปริมาณมากขึ้น

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร


การรักษาสมัยใหม่มักใช้ยาแผนปัจจุบันเป็นหลัก ยาหลายชนิดมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย อีกทั้งมีราคาแพงเพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จนกระทั่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) เริ่มให้ความสำคัญและมีนโยบายส่งเสริมให้ชุมชนใช้ยาสมุนไพรที่มีในท้องถิ่น สำหรับการดูแลรักษาสุขภาพขั้นพื้นฐาน กระทรวงสาธารณสุขรับนโยบายนี้มาดำเนินการ ส่งผลให้โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี หันมาส่งเสริมการใช้สมุนไพรมากขึ้น โดยมี “ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร” เป็นผู้บุกเบิกในการเข้าไปเรียนรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย กระทั่งสามารถวิจัยและผลิตยาจากสมุนไพรได้ ต่อมาเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจช่วงปี พ.ศ. 2540 ชาวบ้านที่ตกงานจำนวนหนึ่งได้มาขอซื้อยาสมุนไพรไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ โรงพยาบาลเล็งเห็นว่าเป็นโอกาสดีในการเผยแพร่สมุนไพรไทย เนื่องจากความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยมีอยู่มากมาย ประกอบกับประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง สามารถนำวัตถุดิบในธรรมชาติมาผลิตได้ในราคาถูก จึงเริ่มรับซื้อสมุนไพรจากชุมชนมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับจำหน่าย จากที่เคยนำสมุนไพรมาทำเฉพาะยาก็ขยายการแปรรูปไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ หลังจากนั้นได้ตั้งมูลนิธิเจ้าพระยาอภัยภูเบศรขึ้นมารับผิดชอบงานด้านนี้โดยเฉพาะ และพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
ผลิตภัณฑ์และบริการ: 
1. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร “อภัยภูเบศร” กว่า 70 ชนิด อาทิ ยาแก้ไอมะขามป้อม สบู่ก้อนเปลือกมังคุด แคปซูลฟ้าทะลายโจร และครีมบำรุงผิวหน้าแตงกวา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ยา เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริม โดยใช้วัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ซึ่งผ่านมาตรฐานของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ผ่านการรับรองมาตรฐานจากองค์การอนามัยโลก(WHO) และตำรับมาตรฐานยาสหรัฐอเมริกา (United States Pharmacopeia) เป็นต้น 2. บริการรักษาโรคด้วยการแพทย์แผนไทยและยาสมุนไพร 3. บริการฝึกอบรมพัฒนาประสิทธิภาพของบุคคลากรด้านสาธารณะสุข และกลุ่มหมอนวดไทย 4. บริการจัดกิจกรรมพิเศษต่างๆ เช่น โครงการทัวร์สุขภาพ และการจัดทำคู่มือการปลูกและเก็บเกี่ยวสมุนไพรให้แก่เกษตรกรที่สนใจ เป็นต้น
ผลตอบแทนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม: 
• สร้างทางเลือกในการรักษาโรคแก่ประชาชน โดยให้บริการคนไข้ด้วยการผสมผสานระหว่างระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน และระบบการแพทย์แผนไทย นอกจากนั้นยังช่วยลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และทำให้ประชาชนสามารถซื้อยาในราคาที่ถูกลง • จุดประกายให้ผู้คนในสังคมเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและสมุนไพรไทย ด้วยการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่มีคุณภาพจนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล • สร้างความเข็มแข็งให้ชุมชน ด้วยการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกสมุนไพรในระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อป้อนให้โรงพยาบาลนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยมีการกำหนดปริมาณ คุณภาพ และราคาล่วงหน้าร่วมกันระหว่างชุมชน ทำให้สมุนไพรกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของชุมชน และเกิดการรวมตัวกันเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน • จัดตั้งพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย เพื่อรวบรวมประวัติความเป็นมา และองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านและสมุนไพรไทย
ความมั่นคงทางการเงิน: 
ปัจจุบันยอดขายผลิตภัณฑ์ของโรงพยาบาลเติบโตในอัตรากว่าร้อยละ 20 ตามเป้าหมายที่วางไว้ทุกปี ได้รับความสนใจและยอมรับอย่างแพร่หลายจากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รายได้จากการจำหน่ายร้อยละ 70 มอบให้แก่โรงพยาบาล ส่วนอีกร้อยละ 30 จะนำไปพัฒนาสมุนไพร และทำประโยชน์เพื่อสังคม
ชื่อเจ้าของกิจการ/ผู้ก่อตั้ง: 
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)
ผู้รับผิดชอบ/บริหารจัดการ: 
นายแพทย์วิชาญ เกิดวิชัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาล
ที่อยู่สำนักงาน: 
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร 32/7 หมู่ 12 ถนนปราจีนอนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี 25000
โทรศัพท์ / มือถือ: 
: 0-3721-6145-16
โทรสาร: 
0-3721-1523

ร้านหนังสือเดินทาง

“เพราะชีวิตอยู่ในร้านหนังสือ ผมจึงเปิด ‘ร้านหนังสือเดินทาง’ ขึ้นมาอีกครั้ง” คำให้การจากหัวใจของ อำนาจ รัตนมณี
“พราะชีวิตอยู่ในร้านหนังสือ ผมจึงเปิด ‘ร้านหนังสือเดินทาง’ ขึ้นมาอีกครั้ง”
คำให้การจากหัวใจของ อำนาจ รัตนมณี 

สุเจน กรรพฤทธิ์ : รายงาน
วิจิตต์ แซ่เฮ้ง : ถ่ายภาพ



หากมีการสำรวจ ๑๐ อันดับ “ร้านหนังสือในดวงใจ” ของผู้ที่ชื่นชอบเดินทางท่องเที่ยวในเมืองไทยแล้ว เชื่อเหลือเกินว่าร้านหนังสือเล็กๆ แห่งหนึ่งซึ่งเคยตั้งอยู่บนถนนพระอาทิตย์ น่าจะติด ๑ ใน ๑๐

“ร้านหนังสือเดินทางเป็นแหล่งเลือกซื้อหนังสือภาษาอังกฤษที่ดีแห่งหนึ่งในไทย ที่นี่ยังมีโปสการ์ดทำมือสวยๆ ให้เลือก คุณยังสามารถจิบกาแฟหรือชาได้อย่างสบายอารมณ์ด้วย”--หนังสือพิมพ์ New York Times

“แม้จะเป็นร้านเล็กๆ แต่ก็ตั้งใจให้เป็นที่รวมของหนังสือทั้งไทยและเทศ เป็นสโมสรของคนรักการเดินทาง”--ธีรภาพ โลหิตกุล

นี่เป็นเสียงส่วนหนึ่งจากสื่อมวลชนทั้งไทยและเทศที่กล่าวขวัญถึง “ร้านหนังสือเดินทาง” ทั้งในแง่บรรยากาศและคุณค่าของร้านที่เป็นมากกว่าร้านขายหนังสือธรรมดา

“ร้านหนังสือเดินทาง” เป็นร้านหนังสือเล็กๆ ที่เปิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๕ ท่ามกลางกระแสการแข่งขันของร้านหนังสือขนาดใหญ่ไม่กี่เจ้าซึ่งแข่งกันเปิดสาขากระจายไปทุกซอกทุกมุมของกรุงเทพฯ ด้วยการริเริ่มของ หนุ่ม-อำนาจ รัตนมณี บัณฑิตจากรั้วเหลืองแดงผู้มีชีวิตแบบที่คนชั้นกลางกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ฝัน คือ ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศที่มีฐานะมั่นคงอย่างธนาคารโลกและได้ค่าตอบแทนดีกว่าอาชีพอื่นๆ หลายเท่าตัว

เพียงแต่...เป้าหมายชีวิตของเขาต่างจากคนอื่นๆ

หนุ่มเคยอธิบายสาเหตุที่ตัดสินใจหันมาทำร้านหนังสือว่า เพราะตั้งคำถามกับสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เช่น ทำไมทุกวันต้องดิ้นรนตื่นแต่เช้าออกไปผจญภัยบนถนนหลายชั่วโมงกว่าจะถึงที่ทำงาน ทำไมถึงใช้ชีวิตแบบที่ตนเองอยากใช้ไม่ได้ ประกอบกับนิสัยรักการอ่าน ความคิดในการทำร้านหนังสือจึงเกิดขึ้น และเมื่อพบทำเลเหมาะสม “ร้านหนังสือเดินทาง” จึงถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกที่ถนนพระอาทิตย์ โดยมีแนวทางชัดเจนว่า จำหน่ายหนังสือเกี่ยวกับการเดินทาง รวมไปถึงวรรณกรรมที่มีคุณค่า โดยเจ้าของร้านเป็นผู้เลือกเฟ้นหนังสือทุกเล่มที่นำมาวางขายในร้านด้วยตนเอง

ตั้งแต่ปี ๒๕๔๕-๒๕๔๘ เป็นเวลา ๔ ปีที่ร้านหนังสือเล็กๆ แห่งนี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ทั้งในฐานะ “จุดหมาย” และ “ระหว่างทาง” ที่ควรแวะหากมีโอกาสผ่านถนนพระอาทิตย์ ในฐานะร้านหนังสือที่สามารถเจอหนังสือหายากได้ง่ายที่สุด ในฐานะมุมกาแฟ มุมพักผ่อน สถานที่พบปะสังสรรค์ของนักเดินทางทั่วโลกที่มาเยือนกรุงเทพฯ และในฐานะสถานที่ซึ่งมีการจัดเสวนาทางปัญญาน่าสนใจอยู่เป็นระยะ

ปลายปี ๒๕๔๘ การปิดตัวของร้านหนังสือเดินทางเนื่องจากเหตุผลบางอย่างทางธุรกิจ ปรากฏเป็นข่าวเล็กๆในสื่อหลายแขนง เว็บไซต์ดังอย่าง pantip.com ก็มีการกล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกัน ด้วยในความเห็นของคนในแวดวงวรรณกรรม นี่มิใช่การสูญเสียร้านหนังสือร้านเดียวบนถนนพระอาทิตย์เท่านั้น หากยังหมายถึงการสูญเสียชุมชนเล็กๆ ทางปัญญาของคนรักการเดินทางไปด้วย

ธีรภาพ โลหิตกุล นักเขียนสารคดีที่ผูกพันกับร้านแห่งนี้ เคยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่า

“ร้านหนังสือเดินทางเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าแท้จริงการเดินทางคือการแสวงหาทางปัญญาและจิตวิญญาณ การดำรงอยู่ของร้านหนังสือเดินทางเป็นการยืนยันว่ายุคสมัยการท่องเที่ยวเปลี่ยนไปแล้ว...การที่ร้านหนังสือเดินทางปิดลงอาจไม่ได้เป็นความสูญเสียมากมาย เพียงแต่เสียดายว่าในพื้นที่ศูนย์กลางใกล้แหล่งปัญญาชน (ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์) ระบบทุนนิยมก็ไม่ยกเว้นว่าร้านนี้เป็นร้านหนังสือ เป็นธุรกิจที่ไม่มีกำไรมาก มันทำให้ชุมชนมีคุณค่า ถ้าเป็นที่ยุโรปจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เท่ากับว่าถนนพระอาทิตย์สูญเสียร้านหนังสือที่มีคุณค่าไปอย่างน่าเสียดาย”

ต้นเดือนมกราคม ๒๕๔๙ หลังจากร้านหนังสือเดินทางปิดตัวได้พักหนึ่ง เจ้าของร้านคนเดิมก็ได้ไปเริ่มต้นสร้างร้านใหม่ที่ห้องแถวเก่าแก่ริมถนนพระสุเมรุ ใกล้สะพานผ่านฟ้าฯ จนล่วงเข้าสู่ต้นเดือนพฤษภาคม ประตูห้องแถวของเขาก็แง้มขึ้นให้คนที่ผ่านไปมาเห็นว่าที่นี่มีร้านหนังสือกำลังจะเปิดกิจการ แน่นอน ถึงตอนนี้หนุ่มตัดสินใจสานฝันต่ออย่างแน่วแน่ เขาบอกว่าหากย้อนอดีต ดูปัจจุบัน แล้วมองไปยังอนาคต นี่คือการก้าวไปข้างหน้า

“เพราะชีวิตอยู่ในร้านหนังสือ ผมจึงเปิด ‘ร้านหนังสือเดินทาง’ ขึ้นมาอีกครั้ง คิดว่าการตัดสินใจครั้งนี้ถูกต้องสำหรับตัวเอง จริงๆ ผมคิดมาตลอดว่าเปิดร้านได้ก็ต้องปิดร้านได้ ถ้าไม่มีร้านหนังสือเดินทางสักพักคงไม่เป็นไร เพราะก่อนปี ๒๕๔๕ ก็ไม่มีร้านนี้ แต่เมื่ออยู่ในวิสัยที่ทำได้ ยังมีคนให้คุณค่ากับสิ่งที่เราทำ ดังนั้นจึงมีเหตุผลให้ทำต่อ อย่าเว้นวรรคมันเลย จริงๆ ผมก็ไม่อยากให้ร้านนี้หายไป อยากให้มันอยู่ได้นานที่สุดครับ”

นี่คือความรู้สึกลึกๆ ของหนุ่มในการเปิดร้านขึ้นอีกครั้งในทำเลใหม่ ซึ่งว่าไปแล้วเหตุผลในการเปิดร้านคราวนี้ก็ไม่ได้ต่างไปจากเดิม นั่นคือการทำในสิ่งที่ตนเอง “รัก” ล้วนๆ

“ถามว่าตอนเริ่มต้นทำร้านผมมีพื้นฐานทางธุรกิจไหม ไม่มี สิ่งเดียวที่มีคือความรู้สึกที่ว่าเราชอบอ่านหนังสือ พอมาทำร้านมันก็เหมือนเป็นการเอางานอดิเรกมาเลี้ยงชีพ ผมจำได้ว่าร้านหนังสือเดินทางสมัยอยู่บนถนนพระอาทิตย์ใช้เวลานานกว่าจะเข้าที่เข้าทาง ๓ เดือนแรกที่เปิดแทบไม่มีหนังสือขาย เพราะว่าวงการธุรกิจหนังสือไม่เห็นความสำคัญของร้านหนังสือเล็กๆ สำนักพิมพ์บางแห่งบอกชัดเจนว่าไม่มีนโยบายทำการค้ากับร้านหนังสือเล็กๆ บางแห่งก็เรียกเงินค้ำประกัน สมมุติว่าผมต้องการหนังสือจากสำนักพิมพ์ ก มาวางขาย ผมต้องเอาเงินวางไว้ ๓ หมื่นบาท ด้วยความที่ไม่เคยทำร้านหนังสือจึงไม่ได้เตรียมตัว เงินที่ผมมีตอนนั้นก็ใช้แต่งร้านไปแล้วส่วนหนึ่ง ต้องแก้ปัญหาด้วยการเอาเงินเดือนจากการทำงานประจำมาช่วย ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ช่วงแรกหนังสือมาที่ร้านช้ามาก

“ตอนนั้นผมทำทั้งงานประจำและร้านหนังสือ จ้างน้องคนหนึ่งมาช่วยขายตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เก้าโมงเช้าถึงหกโมงเย็น ส่วนผมมารับช่วงตอนหกโมงเย็นถึงสามทุ่ม และวันเสาร์-อาทิตย์ สรุปคือทำงาน ๗ วันต่อสัปดาห์ เป็นช่วงที่หนักทั้งกายและใจ หลังปิดร้าน ดึกๆ ยังนั่งทาสีเก้าอี้ กว่าจะเคลียร์บัญชีเสร็จก็หกโมงเช้าของอีกวันก่อนจะออกไปทำงานประจำต่อ เป็นแบบนั้นอยู่ปีหนึ่งจนคิดว่าต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เพราะร่างกายจะไม่ไหวและงานจะเสียหมด ในที่สุดก็ตัดสินใจออกจากงานประจำมาทำร้านหนังสือเต็มตัว พอถึงเดือนที่ ๖ ภาวะขาดทุนก็ดีขึ้น ปลายปีก็ไม่ขาดทุนแล้ว แม้จะมีกำไรไม่มากมายแต่ก็มีสัญญาณที่ดี”

นั่นเพราะในเวลาไม่นาน ร้านหนังสือเดินทางได้กลายเป็นร้านหนังสือที่มีคนรู้จักมากที่สุดร้านหนึ่งในกรุงเทพฯ ด้วยบุคลิกและบรรยากาศของร้านที่เป็นเหมือน “ชุมชนนักเดินทาง” นอกเหนือไปจากการเป็นร้านสำหรับคนรักหนังสือ

“ผมเป็นคนธรรมดาที่ลุกขึ้นมาทำร้านหนังสือ ไม่มีสายสัมพันธ์หรือรู้จักนักเขียนมาก่อน เพียงแต่พอทำไปแล้ว ความจริงที่ว่าคนที่มีความรู้สึกดีๆ กับร้านหนังสือยังมีอยู่ ก่อนหน้าปี ๒๕๔๕ ร้านแบบนี้ไม่มีในสังคมไทย พอผมทำขึ้นมาจึงกลายเป็นแรงดึงดูดให้แต่ละคนมารู้จักกัน นักเขียนคนแรกๆ ที่เข้าร้านคือ ธีรภาพ โลหิตกุล ตอนนั้นผมเปิดร้านได้เดือนหนึ่ง พี่ธีรภาพผ่านมาที่ถนนพระอาทิตย์แล้วแวะเข้ามาที่ร้าน นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้คุยกับพี่ธีรภาพ แกยังถามด้วยความห่วงใยว่าร้านเป็นอย่างไร ซึ่งคงหมายถึงในแง่ธุรกิจด้วย ก่อนจากกันวันนั้นพี่เขาบอกว่า “มีอะไรให้ช่วยบอกนะ พี่ปวารณา”

“เรื่องเอาสื่อมาประชาสัมพันธ์ร้านไม่คิดเลยครับ ตอนนั้นคิดแค่ว่าทำให้ดีที่สุด ให้คนรู้จักบ้างก็พอ แต่ก็รู้ว่าต้องทำให้คนรู้จักร้านอย่างเป็นทางการ เลยคิดว่าน่าจะเชิญนักเขียนที่เขียนเรื่องเกี่ยวกับการเดินทางมาร่วม หาทางดึงพวกเขามาสร้างชุมชน เริ่มจากเชิญมาร่วมเสวนาในงานเปิดร้าน ด้วยความที่ไม่มีสายสัมพันธ์มาก่อน ผมก็หาเบอร์แล้วโทรศัพท์ไปหา อย่าง ภาณุ มณีวัฒนกุล ตอนนั้นพี่เขาอยู่คอนโดฝั่งธนบุรี ผมก็โทรศัพท์ไป บอกว่าพี่ครับ ผมทำร้านหนังสือครับ เล่ารายละเอียดแล้วเชิญมาร่วมเสวนา ตอนนั้นมี ธีรภาพ โลหิตกุล ภาณุ มณีวัฒนกุล ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ เป็นต้น คนมาเยอะมาก และจากวันนั้น สื่อก็ตามเข้ามา

“วันเปิดร้านผมยังให้แต่ละคนเอาของที่เป็นความทรงจำจากการเดินทางมาด้วย เช่น พี่จอบ (วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์) ก็เอากล้องส่องทางไกลที่เคยใช้ดูแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดแข่งขันที่สนามโอลด์แทรฟฟอร์ดมา พี่ธีรภาพเอาหนังสือลุงโฮจิมินห์มา คือมันได้แบ่งปันความรู้สึกกัน ก็เริ่มเป็นชุมชนตั้งแต่ตอนนั้น มีกิจกรรมมากขึ้น มีคนแวะเวียนมามากขึ้น เป็นจุดเริ่มต้นของรูปธรรมบางอย่างที่ชอบและรู้สึกดีกับมันมาก

“บางคนบอกว่ามาที่นี่แล้วพบหนังสือที่ไม่มีในร้านอื่น คำพูดนี้ทั้งถูกและไม่ถูก เช่นนักเรียนคนหนึ่งอยากได้ คำพิพากษา ของ ชาติ กอบจิตติ ไปทำรายงาน ร้านอื่นไม่มีขาย แต่ร้านหนังสือเดินทางมี ผมมองว่าสาเหตุมาจากการที่หนังสือดีถูกละเลย ผมคิดว่าหนังสือดีอย่างนี้ร้านหนังสือส่วนใหญ่มี แต่เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเขาหลากหลาย เขาจึงต้องเอาหนังสือทุกประเภทมาวางขาย แล้วแต่ละวันมีหนังสือออกใหม่หลายเล่ม ขณะที่พื้นที่บนชั้นที่จะโชว์หนังสือมีจำกัด หนังสือบางประเภทที่เขารู้สึกว่าขายไม่ดี ทั้งๆ ที่อาจขายดีถ้าวางในตำแหน่งที่เหมาะสม ก็อาจถูกเอาไปแอบๆ ไว้ตามชั้น ลูกค้าเลยคิดว่าหนังสือเล่มนั้นไม่มีในร้าน แต่ร้านหนังสือเดินทางเรากำหนดประเภทหนังสือที่นำมาวางขายชัดเจน หนังสือทุกเล่มจึงได้รับการดูแล ลูกค้าเองก็จะรู้ว่าเขาจะหาหนังสือประเภทไหนได้ที่นี่ ผมรู้สึกว่านี่เป็นช่องว่างที่ทำให้เรามีที่ยืน

“ผมเห็นด้วยกับประโยคของท่านพุทธทาสที่ว่า ‘การทำงานคือการปฏิบัติธรรม’ การทำร้านหนังสือเดินทางทำให้ผมได้ฝึกตัวเอง เราเปิดร้านต้องพร้อมต้อนรับลูกค้าทุกคน แต่ในเชิงลึก ทุกคนหรือเปล่าที่เราอยากต้อนรับ บอกตามตรงว่าไม่ แต่จะไม่ต้อนรับเขาเหรอ ไม่ได้ บางทีผมอยู่ร้านคนเดียว คนมากมาย ชั้นบนสั่งเครื่องดื่ม ชั้นล่างอยากคุย ในใจเราต้องจัดลำดับแล้ว จะทำอะไรก่อน คือเราต้องดูแลทุกคนได้ ถึงจะยาก แต่ในที่สุดเราก็จะรู้ว่าสถานการณ์แบบนั้นมักจะเป็นแค่พักหนึ่ง หรือบางทีมีคนมาขโมยหนังสือ เราก็แอบดูเขาขโมย มันทำให้เรานิ่งขึ้น เข้าใจคนมากขึ้น ได้ข้อมูลในการใช้ชีวิตเพิ่มขึ้น ๔ ปีบนถนนพระอาทิตย์ไม่นานเลยครับ เจอน้องบางคนเข้าร้านตั้งแต่เขานุ่งขาสั้นจนจบมหาวิทยาลัย มองเขาแล้วมองตัวเอง เฮ้ย ๔ ปีแล้วนะ ผมไม่สามารถบอกว่าชอบช่วงไหนที่สุด บอกได้แค่โอเคกับมันมาก ไม่เคยคิดว่าตัดสินใจผิดที่มาทำร้านหนังสือเดินทาง

“ปลายปีที่ ๓ ขึ้นปีที่ ๔ ของร้านที่ถนนพระอาทิตย์ ผมก็เจอสถานการณ์บางอย่างจนคิดเลิก มองแล้วการทำร้านต่อก็มีด้านดีอยู่มาก ตั้งแต่ทำร้าน ผมได้สัมพันธ์กับผู้คนที่รู้สึกดีด้วย ได้อยู่กับหนังสือ ได้สิ่งที่ต้องการระดับหนึ่ง ถามว่าถ้าอย่างนั้นทำไมถึงต้องเลิกร้านที่นั่น ต้องย้ายมาอยู่ผ่านฟ้าฯ คงต้องตอบว่าชีวิตจริงมันมีเงื่อนไขบางอย่างที่ทำให้เราไม่สามารถก้าวต่อไปได้ เช่น ต้องทำงาน ๗ วันต่อสัปดาห์ ต้องคิดถึงตัวเลขตลอด แฟนผมเลิกงานที่ถนนวิทยุหกโมงเย็น แล้วมาช่วยงานในร้านที่ถนนพระอาทิตย์จนถึงสี่ทุ่มก่อนจะขับรถกลับบ้านที่บางแค ส่วนผมแหวกโต๊ะกาแฟชั้นสองทำเป็นที่นอนทุกคืน คือพอผ่านช่วงนั้นมาได้เรื่องอยู่ต่อทำได้แน่ แต่วงจรจะเป็นแบบเดิม ก็ต้องถามตัวเองว่านั่นคือสิ่งที่ต้องการไหม จริงอยู่ เมื่อผมทำร้านหนังสือย่อมไม่ได้มุ่งสู่ความเป็นมหาเศรษฐี เพียงแต่ที่ย้ายก็เพื่อต้องการแก้ไขบางอย่าง นอกจากนี้มันก็มีเงื่อนไขของระบบทุนนิยมที่ทำให้ความรู้สึกผมสะดุด คิดว่าการยุติร้านที่ถนนพระอาทิตย์จะแก้ปัญหาได้ จึงตัดสินใจยุติช่วงปลายปีที่ ๓ ตอนนั้นกะว่าเลิกเลย ต้องอธิบายว่าสัญญาเช่าที่ถนนพระอาทิตย์มี ๓ ปี ตั้งใจว่าถ้าอยู่ครบ ๓ ปีก็ถือว่าชนะตัวเองแล้ว แต่นี่อยู่ถึง ๔ ปี เมื่อตอบตัวเองได้แบบนั้น ปิดไปคงไม่มีปัญหา ถ้าเจอทำเลดีๆ ค่อยเปิดร้านใหม่ ซึ่งจะเป็นที่ไหน นานเท่าไรเราก็ไม่รู้ ระหว่างนั้นคงทำอาชีพอื่นไปก่อน ปีสุดท้ายจึงเป็นปีที่โล่งมากเพราะรู้ว่าจุดสิ้นสุดอยู่ไหน ร้านก็อยู่ตัวแล้ว ไปได้ดีทั้งในแง่ความรู้สึกและธุรกิจ

“ร้านที่ผ่านฟ้าฯ นี่ผมมาพบช่วง ๓ เดือนสุดท้ายก่อนร้านหนังสือเดินทางที่ถนนพระอาทิตย์จะปิด ตอนนั้นมีคนไปส่งข่าวว่ามีห้องแถวว่าง ก็มาดูแล้วตัดสินใจภายใน ๓ วัน รับได้ในแง่ค่าเช่ากับทำเล แน่นอน มันสู้ที่เดิมไม่ได้ ยืนยันว่าถนนพระอาทิตย์เหมาะกับร้านหนังสือเดินทางที่สุด แต่ถามว่าต้องเป็นถนนสายนั้นตลอดไหม ไม่จำเป็น ๔ ปีที่ผ่านมาคงสร้างต้นทุนบางอย่างให้ร้านได้แล้ว และการมาอยู่ที่ใหม่ก็น่าจะสร้างสังคมแบบเดิมได้ หวังลึกๆ ว่าคนที่รู้จักกันที่ถนนพระอาทิตย์จะมาหาเรา เลยกล้าย้ายมาอยู่ที่นี่

“บอกตรงๆ ผมเกลียดตัวเลขมาก ที่ทำร้านหนังสือเดินทางก็ไม่ได้ทำเป็นธุรกิจแบบสุดๆ มีคนถามว่าเปิดร้านหนังสือแล้วไม่ลดราคาอยู่ได้หรือ ร้านทั่วไปคงต้องคิดแล้วว่าซื้อ ๒ เล่มต้องลดราคาหรือแถมอะไรหน่อย แต่ ๔ ปีที่ผ่านมาผมขายเต็มราคาตลอด มีครับที่ถูกถามว่ามีส่วนลดไหม ผมก็อธิบายว่าหนังสือเล่มหนึ่ง ๑๐๐ บาท ผมได้ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ คือ ๒๐ บาท ต้องจ่ายค่าเช่าเดือนเท่านี้ๆ มันไม่ใช่ว่าผมไม่อยากลดให้นะ แต่นั่นเป็นกำไรที่น้อยที่สุดแล้วที่จะได้ ถ้าลดราคาผมอยู่ไม่ไหวจริงๆ แต่ผมก็เข้าใจลูกค้านะ บางทียังแนะนำร้านให้เขา บอกเขาว่าถ้าพี่ไม่ลำบากมีอีกร้านครับที่ให้ส่วนลด ลูกค้าหลายคนกลับมาซื้อหนังสือที่ร้านผมเพราะเข้าใจ ผมเองก็พยายามอุดช่องว่างตรงนี้โดยหาทางเพิ่มโอกาสให้เขาเจอหนังสือที่ต้องการเมื่อเข้ามาในร้าน โดยเลือกหนังสือดีๆ มาขาย นอกจากนี้ก็เป็นเรื่องบรรยากาศที่ผมพยายามสร้างขึ้น

“๔ เดือนที่หยุดไป ไม่ได้ไปเที่ยวครับ นั่งเลื่อยไม้ ทาสี ตอกตะปู ขัดพื้น ทำทุกอย่างอยู่ในร้านใหม่ งานช่างที่ไม่เคยทำก็เริ่มทำ ทำไมต้องทำเอง เพราะผมรู้สึกว่าชีวิตอยู่ในนี้ รู้สึกว่าถ้าจะอยู่กับมันต้องมีความสุขกับมันด้วย เลยทำเองเป็นหลัก เพิ่งเปิดประตูร้านเมื่อเดือนพฤษภาคมนี้เอง ยอมรับว่าไม่ทันตามกำหนดที่วางไว้ (๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙) แต่ผมยังคงทำมันด้วยความรู้สึกเดิม คนทั่วไปคิดว่าทำร้านหนังสือยาก ข้อสรุปคือไม่รอดหรอก แต่ผมบอกตัวเองว่าต้องอยู่ให้ได้ ถ้าคิดว่าทำได้จะส่งผลในทางที่ดี ปัญหาที่เข้ามาผมไม่เคยคิดว่าเป็นปัญหา มันคือก้าวหนึ่ง ถ้าผ่านไปได้จะเข้มแข็งขึ้น ถามว่าลำบากไหม ไม่ สนุกที่ได้ผ่านชีวิตแบบนั้น มันภูมิใจ คนเราถ้าสร้างความภูมิใจให้ตัวเองได้จะนำไปสู่การสร้างสิ่งที่มีความหมายในชีวิต ผมทำร้านหนังสือ ๔ ปีไม่เคยมีวันไหนตื่นขึ้นมาแล้วถามตัวเองว่าจะทำอะไรต่อ ไม่เคยรู้สึกว่าเคว้งคว้าง ร้านนี้เติมเต็มจิตใจเราได้ รู้สึกว่าชีวิตมีอะไรบางอย่าง บางอย่างที่อยู่ข้างในไม่ได้เอาไว้อวดคนอื่น แต่พอมองเข้าไปแล้ว เออ นี่คือสิ่งที่เราสร้าง มันสุขกับตัวเอง นี่คือสิ่งที่ทำให้ผมยืนยันจะทำร้านหนังสือต่อไปครับ”

ก่อนจากกันเขาทิ้งท้ายถึงอนาคตของร้านหนังสือที่เขารักไว้ว่า

“ไม่แน่ วันหนึ่งผมอาจย้ายร้านอีกครั้ง ร้านหนังสือเดินทางมีลักษณะบางอย่างทำให้ไม่สามารถอยู่ได้ทุกที่ ตอนนี้ผมเริ่มคิดว่า ถ้าต้องใช้เวลาและแรงงานเท่าเดิม ทำไมไม่ทำร้านใหญ่ ผมไม่ได้หมายถึงการมีสาขา แต่อยากให้ร้านมีพื้นที่เพิ่มขึ้น คิดว่าไม่ผิดที่จะขยับขยายมันนะครับ ให้มีหนังสือในร้านมากขึ้น คนเข้ามาได้มากขึ้น ผมมีความคิดใหม่ๆ มากขึ้นทุกวัน ความฝันผมคืออยากเห็นแถวนี้สักหนึ่งช่วงตึกมีแต่ร้านหนังสือ ถ้ามีที่ว่างผมจะเปิดร้านหนังสืออีกชื่อหนึ่งเลย อยู่ใกล้ๆ กันนี่ละ เห็นร้านเหล้าชอบทำ นี่นำมาสู่คำถามที่ว่าทำไมถนนหนังสือจึงไม่เกิดในเมืองไทย ทำไมคนไทยต้องมุ่งเป้าไปซื้อหนังสือในงานหนังสืออย่างเดียว

“อีก ๑๐ ปี ผมคิดว่าร้านหนังสือเดินทางยังคงอยู่ แต่จะอยู่ไหนเป็นอีกเรื่องนะครับ”

หมายเหตุ : ร้านหนังสือเดินทางแห่งใหม่ ตั้งอยู่เยื้องกับภัตตาคารนิวออร์ลีนส์ที่ปิดตัวไป หากมาจากสี่แยกสะพานวันชาติ ร้านหนังสือเดินทางจะอยู่ทางซ้ายมือ ก่อนถึงธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า มีป้ายให้เห็นชัดเจนหน้าร้าน เปิดทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลาประมาณ ๑๐.๐๐-๒๐.๐๐ น.
บทความนี้มาจาก Sarakadee สารคดี
http://www.sarakadee.com/web

URL สำหรับเรื่องนี้คือ:
http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=579

Eco Shop






"เราทุกคนสามารถช่วยโลกใบนี้ได้...ก็แค่ทำตามความถนัด มันยากแค่เริ่มต้นเท่านั้นแหละ"

“We can save the world ...in our own way Just start doing it. It’s only hard in the beginning”

Eco Shop       

เวทีสำหรับขายสินค้าที่มีดีไซน์...เพื่อสิ่งแวดล้อมที่แรกในประเทศไทย เกิดจากความใฝ่ฝันของท็อป-พิพัฒน์ที่อยากอยู่กับสินค้าที่มีดีไซน์และรักษ์โลก จากคำถามของเจ้าของโรงงานว่า "ผลิตแล้วจะขายที่ไหน" หรือเวทีประกวดสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีมากมาย แต่เมื่อประกาศผลแล้ว...ผลงานไปอยู่ที่ไหนหมด จึงเกิด ECO Shop ขึ้นมาเพื่อรองรับสินค้าเจ๋งๆ มากมาย

Shop Website : www.ecoshop.in.th
Contact Number : 0870990639
Email : contact@ecoshop.in.th
Open : 11.00 AM - 9.00 PM

ภาพจาก
 http://www.hereilike.com/siam/hereilike/shoppreview.aspx?shopId=56

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เทศกาล ‘กินเปลี่ยนโลก’ ครั้งที่ 1 Taste of Food.


“ลำ อร่อย หรอย แซบ”

วันเสาร์ที่ 4 และวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2555
ณ สวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์

กับกิจกรรมมากมาย
- ซุ้มฝึกลิ้น สัมผัสรสธรรมชาติเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องปรุงรสที่เกินพอดี
- เปรียว หวาน เค็ม ความหลากหลายตามธรรมชาติกับสารปรุงสังเคราะห์
- อาหารพื้นบ้านจากเหนือ กลาง อีสาน ใต้ พร้อมเรื่องราวการรักษาความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ของอาหารโดยคนท้องถิ่น
- Food miles คืออะไร ? ชวนสำรวจระยะทางของผักที่เรากิน
- สวนผักคนเมือง แบ่งปันแรงบันดาลใจจากคนเมืองมือเปื้อนดิน
- โรงฉายหนังอาหาร และสารคดีน่าสนใจมากมาย ตลอดงาน
- เสวนา “การหายไปของรสชาติอันหลากหลาย” โดย นักวิชาการและเชฟหลายรุ่น หลากสไตล์
- สาธิตทำอาหารจากวัตถุดิบพื้นบ้านโดยเชฟคนดัง
- ประชันกะปีดัง กะปิดี จากคนทำกะปิตัวจริงเสียงจริง พร้อมเรื่องราวกว่าจะมาเป็นกะปิ อาหารในดวงใจของหลายๆ คน

รายละเอียดเพิ่มเติม www.food4change.in.th
www.facebook.com/food4change
หรือ 08-1493-4241(แก้วตา)

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ร้านอีบ้านนอก

     โครงการ ส่งเสริมอาชีพ (ร้านอีบ้านนอก) เกิดจาก ความพยายาม ที่จะผลักดันให้ชุมชน ได้ใช้ศักยภาพของตนเองที่มีติดตัวมายาวนาน ถ่ายทอดสู่รุ่นต่อรุ่น ซึ่งผลิตชิ้นงานมาเพียง ใช้สอยในชีวิตประจำวัน ไม่ได้ทำมาเพื่อหวังในทางการค้า  แต่ปัจจุบันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ชุมชนใช้ชีวิต ที่ยากมากขึ้น  วิถีชีวิตที่ผึ่งพิงธรรมชาติ จากทำไร่ ทำนา มาเป็นคนงานก่อสร้าง,รับจ้าง,เป็นแรงงานราคาถูกในโรงงาน  ทางเลือกอื่น ๆ จึงค่อนข้างจำกัด ทำให้ใช้ชีวิต ได้ยากมากขึ้น   และโดยเฉพาะกับผู้หญิงชนเผ่า  ซึ่งมีข้อจำกัดทางด้านภาษา และการสื่อสาร จึงเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก ที่จะต้องออกไปทำงาน ในเมือง  การได้ทำงานที่บ้าน ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถให้กลุ่มแม่บ้านเหล่านี้ได้มีงานทำ มีเวลาเลี้ยงลูก และไม่ต้องเคลื่อนย้ายครอบครัวออกไปจากชุมชน  
ดัง นั้นงานหัตกรรมจึงเป็นสิ่ง ที่ช่วยให้พวกเขาเหล่านี้ ได้ใช้ความรู้สามารถ และความเชี่ยวชาญในด้านงานหัตกรรมต่างๆ  ที่เคยทำเพียงเพื่อ ใช้ในครอบครัว แต่เปลี่ยนมาผลิตสินค้าเผื่อจำหน่าย สำหรับเป็นค่าครองชีพ ผลิตภัณฑ์ชนเผ่า ที่มีสีสันลวดลายที่สะดุดตา เหล่านี้เกิดจาก จินตนาการ และความผูกพันที่เกี่ยวข้องวิถีชีวิตวัฒนธรรม และ ทรงคุณค่าทางด้านศิลปะ  การพัฒนาให้กลุ่มแม่บ้านได้ใช้ความสามารถเหล่านี้ นั้น จะทำให้ให้พวกเขามีอาชีพ มีความมั่นใจและภาคภูมิใจในความเป็นคนชนเผ่าของตนเอง
ปัจจุบัน มีกลุ่มแม่บ้านที่ได้รับการสนับสนุน ในการพัฒนาอาชีพ  ประกอบไปด้วย ชนเผ่า อาข่า,ลาหู่และกะเหรี่ยง   มาจากหมู่บ้าน  ห้วยขมหมู่10, บ้านจะแล,บ้านยะฟู,บ้านลีผ่า,บ้านอาจ่า  จำนวนสมาชิกทั้งหมด ประมาณ  50 คน  ผลิตสินค้าจำหน่าย ทั้งในที่หมู่บ้าน และ ผ่านการจำหน่าย โดยมูลนิธกระจก ภายใต้ชื่อร้านอีบ้านนอก หรือ ชื่อ เวปไซค์ ว่า www.ebannok.com  และคุณก็เป็นคนหนึ่งที่สามารถมีส่วนร่วมในการที่จะสนับสนุนให้คนเหล่านี้ได้ สร้างสรรค์ผลงานและศักยภาพของเขาเองได้อย่างภาคภูมิใจ อุดหนุนได้ที่ http://www.ebannok.com
1.โครงการร้านอีบ้านนอกมูลนิธิกระจกเงาเชียงราย http://www.facebook.com/ebannok
2. โครงการร้านอีบ้านนอก อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ข้อมูลจาก: http://www.mirror.or.th/index.php 
                http://ebannok.themirrorfoundation.org/


ก้าวสู่โลก “เศรษฐกิจสีเขียว” ต้องทำความเข้าใจและไปให้ไกลกว่ากระแส

9 กรกฎาคม 2012
งานเสวนาเรื่อง “เศรษฐกิจสีเขียว" วิทยากรเริ่มที่สองจากซ้ายได้แก่นายพาโบล โซลอน ผู้อำนวยการบริหาร, นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน นักวิชาการอิสระ เจ้าของบล็อก, นางสาวสุรีรัตน์ แต้ชูตระกูล กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และนายนณณ์ ผาณิตวงศ์ ผู้ประกอบการธุรกิจที่สนใจสิ่งแวดล้อม
งาน เสวนาเรื่อง “เศรษฐกิจสีเขียว” วิทยากรเริ่มที่สองจากซ้ายได้แก่นายพาโบล โซลอน ผู้อำนวยการบริหาร, นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน นักวิชาการอิสระ เจ้าของบล็อก, นางสาวสุรีรัตน์ แต้ชูตระกูล กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และนายนณณ์ ผาณิตวงศ์ ผู้ประกอบการธุรกิจที่สนใจสิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจสีเขียวในไทยไม่แตกต่างกับนิยามเพื่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่ผ่านมา เป็นเพียงนโยบายของรัฐที่เอื้อให้อุตสาหกรรมปล่อยมลพิษและทำลายสิ่งแวดล้อม ได้อย่างถูกต้องเท่านั้น แต่ “เศรษฐกิจสีเขียว” สามารถทำได้หากรัฐบาลกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง คิดถึงประชาชนส่วนใหญ่มากกว่านายทุน
จากแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว (www.gsei.or.th/pdf/24-8-54_rio+20.doc) ที่เป็นกระแสอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นสีเขียวจริงไหม และทำได้จริงหรือเหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่
งานเสวนาเรื่อง “เศรษฐกิจสีเขียว: ทำความเข้าใจ ไปให้ไกลกว่ากระแส Green Economy: Let’s Go Beyond the Mainstream” ณ ศาลาปันมี บ้านอารีย์ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ นายพาโบล โซลอน (Pablo Solón) ผู้อำนวยการบริหาร Focus on the Global South และ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาเรื่องโลกร้อนและเศรษฐกิจสีเขียว ประเทศโบลิเวีย, นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน นักวิชาการอิสระ เจ้าของบล็อก“คนชายขอบ” และอดีตนักการเงินการธนาคาร, นายนณณ์ ผาณิตวงศ์ ผู้ประกอบการธุรกิจที่สนใจสิ่งแวดล้อม จนกลายมาเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (Siamensis.org) และนางสาวสุรีรัตน์ แต้ชูตระกูล กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้ร่วมผลักดันแผนอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทางเลือก และผู้ประกอบการธุรกิจรีสอร์ท
นายพาโบล โซลอน (Pablo Solón) ผู้อำนวยการบริหาร Focus on the Global South และ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาเรื่องโลกร้อนและเศรษฐกิจสีเขียว ประเทศโบลิเวีย กล่าวว่า เศรษฐกิจสีเขียวคือ การพัฒนาเศรษฐกิจที่คำนึงถึงธรรมชาติ อยู่บนพื้นฐานของความสมดุลระหว่างความต้องการของมนุษย์กับทรัพยากรที่มีอยู่ จำกัด โดยการดึงธรรมชาติเข้ามาสู่ตลาด เพื่อให้เกิดการแข่งขัน
จากแนวคิดที่ว่าธรรมชาติต้องไม่ถูกละเลยนี้ นักวิชาการบางกลุ่มมีความคิดที่จะแก้ปัญหาโดยการติดป้ายราคาให้กับธรรมชาติ ตั้งแต่ติดป้ายต้นไม้ มายังการติดป้ายที่ระบบ และศักยภาพการทำงานของธรรมชาติที่สามารถทำได้ เพื่อให้คนเข้าไปดูแลรักษา แต่ก็มีนักวิชาการบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย เพระไม่เชื่อว่าการติดป้ายราคานั้นจะช่วยแก้ปัญหาได้ เพราะสุดท้าย การติดป้ายก็คือการทำธรรมชาติให้กลายเป็นสินค้าให้คนมาเก็งกำไร แล้วก็สามารถออกใบอนุญาตให้คนก่อมลพิษต่อไปได้ เช่น คาร์บอนเครดิต หากไม่มีการควบคุมอย่างจริงจัง ว่าแต่ละประเทศสามารถปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้เท่าไหร่ ปัญหาก็ยังอยู่เหมือนเดิม ดังนั้น คุณค่าหรือประโยชน์ที่แท้จริงของราคาต้องสะท้อนความเป็นจริง
หันกลับมามอง “เศรษฐกิจสีเขียว” ที่ประเทศไทย นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน นักวิชาการอิสระ เจ้าของบล็อก “คนชายขอบ” และอดีตนักการเงินการธนาคาร กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยยอมรับได้หรือยัง ว่าวิถีการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้ไม่ยั่งยืน หากยอมรับได้แล้ว ก็ต้องพยายามหาจุดที่สมดุลหรือพื้นที่ตรงกลางระหว่าง “ตลาด” และ “พื้นที่สีเขียว” ให้ได้ ไม่ใช่พอยอมรับว่าไม่ยั่งยืน เลยแก้ปัญหาโดยการใช้ตลาดเป็นตัวนำ ดึงทุกอย่างเข้าสู่ตลาด
เรื่องปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นในประเทศไทย คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือประชาชนหรือชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้ เคียง และเมื่อเกิดปัญหา การเยียวยาก็แทบจะไม่มี ชาวบ้านเองก็เป็นคนที่มีเสียงน้อย และก็ต้องทนกับมลพิษเหล่านั้นต่อไป เพราะไม่สามารถหลีกหนีไปไหนได้ ดังนั้น การแก้ปัญหาที่ดีควรจะให้ทุกฝ่ายได้ตัดสินใจร่วมกัน ทั้งภาคประชาชน ผู้ประกอบการ และภาครัฐ
ขณะที่นโยบายของรัฐบาลก็มีส่วนสำคัญในระบบเศรษฐกิจ ที่ผ่านมา รัฐบาลสนับสนุนพลังงานที่ไม่ยั่งยืนมาโดยตลอด ทำให้พลังงานหมุนเวียนนั้นมีราคาแพง
“เศรษฐกิจสีเขียวคือไม่เบียดเบียนกัน ที่ผ่านมา กว่าจะรู้ตัวว่าเบียดเบียนอาจสายเกินไป ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ “ข้อมูล” ที่ภาครัฐและภาคธุรกิจต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังซึ่งกันและกัน สุดท้ายคือ “การเชื่อมโยง” ให้ข้อมูลและปัญหาไปถึงยังทุกๆ ฝ่าย กระจายจากเมืองไปสู่ชนบท และจากชนบทมาสู่เมือง ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญที่สื่อสารมวลชนต้องปฏิบัติให้สำเร็จ”
ในส่วนของผู้ประกอบการ นายนณณ์ ผาณิตวงศ์ ผู้ประกอบการธุรกิจที่สนใจสิ่งแวดล้อม จนกลายมาเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ กล่าวว่า ธุรกิจเกิดขึ้นจาก 3 ส่วน คือ ผู้ประกอบการ รัฐบาล และชาวบ้านหรือชุมชน ดังนั้น เพื่อขจัดปัญหาที่จะเกิดกับชุมชน ผู้ประกอบการต้องทำธุรกิจด้วยความจริงใจ มีจิตสำนึกคิดถึงส่วนรวม แน่นอนว่าธุรกิจต้องมุ่งเน้นกำไร แต่ก็ต้องดูสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบด้วย
เรื่องการกำจัดมลพิษก่อนปล่อยทิ้งสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่าเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีนั้นๆ มีราคาสูง อาจถึง 35% ของต้นทุน แต่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่ผู้ประกอบการจะไม่ทำ เพราะแม้การลงทุนจะสูงเพียงใดก็ทำให้ธุรกิจอยู่ได้ ส่วนเรื่องคาร์บอนเครดิตในไทยนั้น ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ใช่ของจริง
สำหรับพลังงานทางเลือก ในประเทศไทยก็มีน้อยกว่าและราคาแพง ดังนั้น คนจะเลือกใช้ก็ต่อเมื่อมันดีกว่าจริงๆ แต่เทคโนโลยีที่เรามีตอนนี้ยังไม่ถึงขั้นนั้น รัฐบาลเองก็สนับสนุนแบบกล้าๆ กลัวๆ ตัวอย่างเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ถ้าหากเราใช้จะทำให้ค่า FT สูงขึ้น เมื่อต้นทุนสูงขึ้น ค่าไฟจึงสูงขึ้นตาม แล้วประชาชนจะยอมจ่ายไหม
“หากรัฐบาลคำนวณถึงต้นทุนให้รอบด้านมากขึ้น ทั้งต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ต้นทุนทางสุขภาพของประชาชน ฯลฯ รวมเข้าไปในต้นทุนการผลิตด้วย ก็จะพบว่า แม้ราคาจริงที่ประชาชนต้องจ่ายจะสูงขึ้น แต่ก็ถูกกว่าการจ่ายตามราคาตามเดิมโดยทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพร่างกาย ค่อยๆ ถูกทำลายไป แต่ถ้ารวมต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมไปแล้ว พลังงานทางเลือกอาจจะถูกกว่าก็ได้ เพราะต้นทุนทางอ้อมที่รัฐบาลไม่ได้คิดนั้นมันมีมูลค่ามหาศาล เพราะหมายถึงชีวิตของประชาชน และทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วจะวัดได้ยากก็ตาม”
ในขณะที่นางสาวสุรีรัตน์ แต้ชูตระกูล กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้ร่วมผลักดันแผนอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทางเลือก และผู้ประกอบการธุรกิจรีสอร์ท ตัวแทนจากภาคประชาชน มองว่า เศรษฐกิจสีเขียวที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นยังไม่ใช่เศรษฐกิจสีเขียวอย่าง แท้จริง ฟังไปฟังมาก็เหมือนกับคำว่าคาร์บอนเครดิต หรือ CSR ที่เคยมีมาก่อนหน้านี้เท่านั้น เพียงแค่เปลี่ยนชื่อให้ฟังดูดีขึ้น แต่นโยบายหรือพฤติกรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจยังคงเหมือนเดิม โดยเฉพาะนโยบายของรัฐที่สนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรม แต่ขาดนโยบายในการควบคุมการปล่อยของเสียจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ ทำให้เกิดมลพิษที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ
เช่น ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รัฐบาลส่งเสริมให้การทำอุตสาหกรรมเหล็ก การถลุงเหล็ก ทั้งๆ ที่อุตสาหกรรมเหล็กของไทยไม่สามารถแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้ ต้องใช้เงินอุดหนุนของรัฐตลอดเวลา หรือโครงการสร้างท่าเรือน้ำลึก ซึ่งทับซ้อนกับพื้นที่วางไข่ของปลาทู และโครงการขยายถนนโดยทับพื้นที่ป่าชายเลน เป็นต้น
ดังนั้น การต่อสู้เพื่อ “สีเขียว” เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ก็คือการต่อสู้กับรัฐบาลมากที่สุด ทั้งโครงการของรัฐโดยตรงและนโยบายต่างๆ ที่เอื้อให้นายทุนสามารถตั้งโรงงานอุตสาหกรรมได้ แม้ว่าในความเป็นจริงจะทำลายสิ่งแวดล้อม แต่หากบอกว่าอยู่ในโครงการที่มีชื่อความหมายว่า “รักษาสิ่งแวดล้อม” ก็สามารถตั้งโรงงานได้ เช่น อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ คือการใช้พื้นที่เชิงนิเวศตั้งโรงงาน
“สิ่งที่ชาวบ้านต้องการคือ “ความเป็นธรรม” จากภาคธุรกิจและภาครัฐ ในการดำเนินกิจการหรือออกนโยบายที่คำนึงถึงผลกระทบที่พวกเขาจะต้องได้รับ ด้วย ไม่ใช่ตีค่าต้นทุนของพวกเขาเท่ากับศูนย์ ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็มีอาชีพเกษตรกรหรือรับจ้างเป็นงานหลักอยู่แล้ว แต่กลับต้องมาต่อสู้กับปัญหาเหล่านี้ ซึ่งเหนื่อยกว่างานประจำเสียอีก คาร์บอนเครดิตก็มีเพื่อให้โรงงานสามารถปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ สร้างโรงไฟฟ้าก็เพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรมพอใช้”
สิ่งที่ชาวบ้านต้องมีคือ “รู้เท่าทัน” ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และปัญหาที่เกิดขึ้น เศรษฐกิจสีเขียวทำได้ไม่ยาก แต่ทุกฝ่ายต้องมองอย่างใจเป็นธรรม ในสังคมเศรษฐกิจ บทบาทของผู้บริโภคสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลง
ดังนั้น ถ้าอยากให้สังคมเปลี่ยน ก็ต้องเริ่มเปลี่ยนตัวเองก่อน แต่การเปลี่ยนแปลงระดับปัจเจกบุคคลจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปยังระดับมหภาค ได้ หากรัฐบาลไม่ยอมเปลี่ยนแปลงด้วย
บทความจาก:http://thaipublica.org/2012/07/green-economy/

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พื้นที่ชีวิต : สรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียว

"น้ำมีเพียงพอสำหรับคนทั้งโลก แต่ว่าสำหรับคนโลภที่อยากจะมั่ง­มีที่สุด อยากได้มากที่สุด แค่ไหนก็ไม่พอ ต่อให้ถางทั้งป่ามาทำเขื่อนมันก็ไม่พอหรอกครับ"

พื้นที่ชีวิต : สรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียว
ติดตามการเดินทางในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ค้นหาความสำคัญของผืนป่า พูดคุยกับนักอนุรักษ์ ผู้ถูกสังคมกล่าวหาว่าเป็นตัวขัดขวางการพัฒนา แท้จริงแล้ว พวกเขามีแนวคิดอย่างไร การพัฒนากับการอนุรักษ์ไปด้วยกันได้หรือไม่ ติดตามได้ใน พื้นที่ชีวิต วันพุธที่ เวลา 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส
http://www.youtube.com/watch?v=ro2rxzVFZwU&feature=related

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บ้านกลางทุ่ง ออแกนิคโฮมสเตย์ กาญจนบุรี

บ้านกลางทุ่ง ออแกนิคโฮมสเตย์ กาญจนบุรี

  
          เชื่อว่าที่นี่คงเป็นเหมือนความฝัน ที่วันหนึ่งอยากให้มันกลายเป็นความจริงของใครหลายๆคน ชีวิตบั้นปลาย ความพอเพียง และความสุขของสิ่งที่ทำ บ้านกลางทุ่ง โฮมสเตย์ กาญจนบุรี

          คุณป้าใจดีบอกว่า ตัดสินใจทำโฮมสเตย์แห่งนี้ กับคุณลุง หลังเกษียณอายุข้าราชการ ไม่น่าเชื่อว่าทำเลที่ตั้งไม่ไกลจากตัวเมืองกาญจนบุรีมากนัก แต่สายลมเย็นๆ ความเงียบสงบ และบรรยากาศทำให้ยากจะเชื่อได้ ด้วยความเป็นกันเองกับผู้ที่เข้าพัก ที่คุณป้าปฏิบัติกับเราประหนึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัว ทำให้วันเวลาที่นี่ทุกวินาที คือความสุขรูปแบบหนึ่งที่หาได้จริงๆบนโลกใบนี้

          ห้องพักแค่ 3 ห้อง และบ้านหลังใหญ่อีก 1 หลังสำหรับกลุ่มเพื่อนหรือครอบครัว  ภายในพื้นที่กลางทุ่งนา ป่าละเมาะ สวนสวยๆฝีมือคุณลุงและคุณป้า อีกทั้งแปลงเกษตรอินทรีย์ที่คุณป้าจะไปเสาะหาวัตถุดิบมาประกอบอาหารให้ทาน ด้วยกันทุกมื้อที่พักที่นี่ นี่ล่ะคงเป็นชีวิตแบบพอเพียงที่หลายๆคนกำลังตามหา

          ผ้าลูกไม้ลายสวยๆ หนังสือหลายเล่ม โต๊ะอ่านหนังสือหรือนั่งเล่น พูดคุยบริเวณระเบียงหน้า
บ้าน พัก ห้องน้ำแบบเปิดโล่งที่...อืมบอกไม่ถูก แต่เอาเป็นว่าถูกใจมากกกกก จักรยานนับสิบคันที่คุณป้าบอกให้เอาไปปั่นออกกำลังกาย ชมวิว ฯลฯ สาธยายต่อไม่หมด

          ที่พักที่นี่ถูกจองเต็มล่วงหน้าหลายเดือนในช่วงวันหยุดหรือหน้าเทศกาลท่อง เที่ยว หรือไม่เว้นแม้แต่เสาร์อาทิตย์ คุณป้าบอกว่าส่วนใหญ่จะมาพักและกลับมากันอีก

          ยากเหลือเกินที่จะสรรหาคำบรรยายความลงตัว ความสุข ของที่นี่ แต่เอาเป็นว่า หากคุณสับสน ต้องการหาที่พักเงียบๆสักแห่ง ไม่ไกลจากกรุงเทพ เราแนะนำที่นี่เป็นตัวเลือกแรกๆให้ได้ลองพิจารณากัน แล้วคุณจะแปลกใจสิ่งที่คุณค้นพบจากการได้พักที่นี่แค่คืนเดียว

 
ดูรูปเอาเลยแล้วกันครับ เชื่อว่าหลายๆท่านคงชื่นชอบที่นี่และเป็นลูกค้่าประจำด้วย
สรุปว่าชอบมากครับที่นี่ แนะนำ
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี
บ้านกลางทุ่ง organic home กาญจนบุรี










        ข้อมูลจาก:  http://www.smalltraveler.com/index.php?mo=3&art=41954484







          

เที่ยวตลาดสุขใจ ย้อนรอยวิถีไทย ที่ โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

เที่ยวตลาดสุขใจ ย้อนรอยวิถีไทย ที่ โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

กระแสการท่องเที่ยวแบบย้อนยุค กลับสู่ธรรมชาติ  ยังคงเป็นที่นิยมไม่เปลี่ยน  หลายคนโหยหาที่จะเดินทางไปสัมผัสวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมเพราะวิถีชีวิตเหล่า นั้นทำให้หวนกลับไปนึกถึงอดีตของการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ไม่วุ่นวาย และเร่งรีบดั่งเช่นในปัจจุบัน ทริปนี้ไปด้วยกัน ได้รับเชิญจาก โรสการ์เด้นท์  ริเวอร์ไซต์ สวนสามพราน เข้าร่วมฉลองครบรอบ 1 ปี ของ ตลาดสุขใจ ตลาดทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ   จากภาพเดิมที่เคยมีอาจเพราะไม่เคยมาพักหรือไม่ค่อยได้ศึกษาข้อมูลอย่างจริง จัง สวนสามพราน คือ โรงแรมที่มีสวนดอกไม้ สวนกล้วยไม้ ให้เราได้ชม แต่เมื่อมาสัมผัสด้วยตัวเองแล้วความคิดทุกอย่างก็เปลี่ยนไป เพราะที่ โรสการ์เด้นท์ ริเวอร์ไซต์ สวนสามพราน ไม่ได้เป็นเพียงโรงแรมที่พักเท่านั้น แต่ มีกิจกรรมให้เราเพลิดเพลินได้มากกว่าที่คิด ซึ่งทุกกิจกรรมเน้นความเป็นธรรมชาติ  ให้เราได้เรียนรู้วิถีชีวิตดั้งเดิมแบบไทย  ซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน  ไปด้วยกันจะพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวและทำกิจกรรมแบบไทย  เดินช้อปปิ้งแบบรักสุขภาพที่ ตลาดสุขใจ รับรองว่าเต็มอิ่มกันทีเดียวค่ะ

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

เริ่มจากบรรยากาศของโรงแรม  ในส่วนบริเวณ Lobby ตกแต่งแบบเน้นความเป็นธรรมชาติ มีรูปภาพซึ่งเป็นภาพวาดธรรมชาติประดับอยู่ที่กำแพง แทบทุกจุด เสมือน Art gallery โชว์ภาพ

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน
โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

บรรยากาศภายในห้องพักสะอาด สะอ้าน สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน  มีระเบียงให้ออกไปชมวิวด้านนอก

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน
โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

เนื่องจากทางโรงแรมค่อนข้างให้ความสำคัญและเน้นความเป็นธรรชาติแบบไทย ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายก็เน้นสมุนไพรไทย ทั้งสระบู่ ยาสระผม ครีมทาผิว ภายในโรงแรมจะเป็นสวนสามพราน  ลองใช้สบู่และยาสระผมของโรงแรม หอมมาก

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

หลังจากเก็บสัมภาระพักผ่อนแล้ว ก็ถึงเวลาเริ่มกิจกรรมอันดับแรก ตรวจธาตุเจ้าเรือน ทำเครื่องหอมตามธาตุ ที่เรือนเฟื่องฟ้า กิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นในรูปแบบหมู่คณะหรือลักษณะการสร้าง team building  แต่ถ้าหากว่าเป็นนักท่องเที่ยวทั่วไปผ่านมาและต้องการร่วมทำกิจกรรมนี้ ก็สามารถทำได้ค่ะ

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน
โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

มีคุณหมอแผนไทย คือ อาจารย์หน่อง ที่จะคอยตรวจเรือนธาตุ ซึ่งธาตุประจำตัวจะมีทั้งหมด 4 ธาตุ คือ ดินน้ำ ลม ไฟ ซึ่งแยกกันตามเดือนเกิด  อาจารย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพคร่าวๆว่า หากเรามีธาตุนั้น ควรจะปฏิบัติตัว หรือรับประทานอย่างไร ให้สมดุลและถูกกับเรือนธาตุ เป็นต้น

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน
โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

เมื่อรู้แล้วว่าเราธาตุอะไร  ก็ลงมือทำเครื่องหอมซึ่งเป็นอยู่ส่วนของกลิ่นบำบัด  ส่วนประกอบก็ไม่ยุ่งยาก  ใครธาตุดิ นน้ำ เครื่องหอม คือ ลูกกระวาน ส่วนใครธาตุลม ไฟ คือ ผิวมะกรูด หลังจากนั้นก็มาตำในครกแบบไทยไม่ต้องถึงกับละเอียดมาก

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน
โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

เมื่อได้แล้วก็ใช้ช้อนตักเทบนผ้าผสมด้วยดอกไม้หอมตากแห้ง  ห่อผ้าให้เป็นลูกตุ้มก็เสร็จเรียบร้อยค่ะ  หอมชื่นใจจริงๆ สามารถนำไปแขวนไว้ในห้องนอนไว้ดมกลิ่นเพื่อผ่อนคลาย

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน
โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

หลังจากทำเครื่องหอมแล้ว ก็ขึ้นมาชั้น 2  เพื่อทำพิมเสนน้ำ ตามธาตุ  ส่วนประกอบหลักมี พิมเสน การบูร แมนทอล ตักใส่ถ้วยครกเล็กๆ หลังจากนั้นบดให้เข้าจนกลายเป็นน้ำ

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

ขั้นตอนต่อไปหยดน้ำมันหอมตามธาตุลงไปประมาณ 10 หยด น้ำมันยูคาลิปตัสสำหรับดินน้ำ  ลาเวนเดอร์ ธาตุไฟ  น้ำมันตระไคร้ ธาตุลม

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน
โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

กวนให้เข้ากันก็จะได้เป็นพิมเสนน้ำใส่ขวดแบบนี้ ทำง่ายมาก ดมแล้วผ่อนคลายหอมสดชื่น ได้รับความรู้ใหม่ๆด้วยว่าเราควรเลือกพิมเสนน้ำตามธาตุของเราถึงจะถูกกัน  เมื่อก่อนซื้อพิมเสนก็แบบก็ซื้อตามกลิ่นที่ชอบไม่ได้มีหลักการตรงนี้เลย

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

ได้เครื่องหอมมาดมให้ผ่อนคลายแล้วก็มานั่งพักผ่อนคลายดื่มน้ำตามธาตุซัก หน่อย น้ำตระไคร้ ธาตุดินน้ำ  น้ำกระเจี๊ยบ ธาตุลม  น้ำใบเตย น้ำไฟ

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

หลังจากทำเครื่องหอมแล้ว รอบ่ายแก่ๆให้แดดอ่อนลง ก็นั่งเรือข้ามไปอีกฝั่งของ โรสการเด้นท์ สวนสามพราน  เพื่อเยี่ยมชมสวนออร์เกนนิค ฟาร์ม ซึ่งเมื่อก่อนจะเปิดให้นักท่องเที่ยวมาร่วมทำกิจกรรม  แต่เนื่องจากเหตุน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว จึงทำให้ต้องปิดปรับปรุงชั่วคราว  แต่หากมาเป็นหมู่คณะต้องการทำกิจกรรมก็สามารถแจ้งทางโรงแรมได้ค่ะ ยังเปิดให้บริการในส่วนนี้อยู่ บึงตรงนี้เมื่อก่อนเป็นบึงบัว มีดอกบัวเยอะมาก
โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

ออเดริฟน้ำสมุนไพร ทั้งดอกบัว ตะไคร้ และอัญชัญ รสชาติดี หอมมาก

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน
โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน
โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

พระเอกของที่นี่

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

กิจกรรมปลูกต้นส้มโอของคณะเราค่ะ ปลูกเสร็จก็จะมีป้าย พร้อมชื่อ และอีเมล์ ห้อยไว้ด้วย ทางโรงแรมจะเมล์มารายงานผลว่าต้นไม้ของเราเจริญเติบโตไปถึงไหนแล้ว  ยังคุยเล่นๆกับเพื่อนว่า สงสัยของเราต้องมีเมล์มารายงานผลว่าขณะนี้ต้นส้มโอที่คุณปลูกได้เหี่ยวตายไป แล้ว แน่ แน่

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

หลังจากร่วมกิจกรรมปลูกต้นส้มโอแล้วกลับมาพักตื่นมาในเช้าวันใหม่ รู้สีกสดชื่นเลยทีเดียวกับบรรยากาศของที่นี่ เราเดินไปเที่ยวตลาดน้ำริมคลอง  ซึ่งจะเปิดในวันเสาร์ อาทิตย์ จะมีเรือของชาวบ้าน ผักผลไม้พื้นบ้าน พายมาขายกันถึงที่

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน
โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน
โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

เดินต่อไปยังหมูบ้านไทย เพื่อชมการละเล่นและวิถีแบบไทย หากนักท่องเที่ยวท่านใดมีโอกาสผ่านไปที่โรสการ์เด้นท์ ไม่จำเป็นต้องค้าง ก็สามารถพาลูกหลานแวะมาเรียนรู้และสัมผัสวิถีไทย ได้ ที่หมู่บ้านไทยจะมีทั้งหมด 12 ฐาน ค่าใช้จ่ายคิดราคาผู้ใหญ่คนละ 150 บาท เด็ก 100 บาท รวมกิจกรรมทำเครื่องหอมซึ่งต่อไปจะย้ายมาอยู่ในหมู่บ้านไทย หากทำแล้วนำกลับบ้านเพิ่มอีกคนละ 100 บาท เท่านั้นเองค่ะ เปิดทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00-12.00น.

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน
โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน
โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

เด็กๆกำลังสนุกสนานกับการละเล่นแบบไทย

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

เรียนรู้วิถีของชาวนาไทย

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน
โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน

สถานีต่อไปก็มาถึงไฮไลต์ของทริปที่ ตลาดสุขใจ ตลาด สำหรับคนรักสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นตลาดที่เน้นขายสินค้าเกษตรกรรมธรรมชาติและสินค้าพื้นบ้าน โดยเฉพาะใครที่ชอบทานผักพื้นบ้าน ที่ตลาดสุขใจมีให้เลือกมากมาย ราคาไม่แพงและที่สำคัญเป็นผักออร์แกนิคปลอดสารพิษ อีกด้วยค่ะ ตลาดจะเปิดทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00 -17.00น.

โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน
ตลาดสุขใจ

หยิบตระกร้าเตรียมช้อปแบบรักษ์สุขภาพ กันได้เลยค่ะ แต่หลังช้อปเรียบร้อยแล้วอย่าลืมเอามาคืนด้วยน่ะค่ะ

ตลาดสุขใจ

ร้านคนเอาถ่าน ชื่อร้านก็บ่งบอกถึงผลิตภัณฑ์ที่ขายได้เลย ว่าต้องเกี่ยวอะไรกับถ่านแน่ๆ ร้านนี้ขายถ่านค่ะ ไม่ใช่ถ่านไฟฉายน่ะค่ะ แต่เป็นถ่านก้อนดำๆ ที่นำมาแปรรูปเพื่อนำมาใช้งาน

ตลาดสุขใจ

ร้านขายก๋วยเตี๋ยวสมุนไพร ผักออร์แกนิค ในรูปแบบต่างๆ

ตลาดสุขใจ

เห็นยำผักสมุนไพรดู เขียนไว้หน้าห่อหน้ากินเชียว ผัก เก้ารส ห้าสี สี่ธาตุ ชวนให้คนชอบทานผักอยากเราลิ้มรสซะนี้กะไร

ตลาดสุขใจ

ว่าแล้วก็ซื้อและให้เจ้าของร้านยำให้หน้าตาเป็นแบบนี้ค่ะ อาจดูน่าตกใจเล็กน้อยสำหรับคนไม่ทายผัก แต่ขอบอกว่าได้ลองชิมแล้ว รสชาติอร่อยเลยทีเดียว

ตลาดสุขใจ

ทานเสร็จแล้ว ก็มาเดินชมตลาดเลือกซื้อผักพื้นบ้านกลับบ้าน ผักสีเขียวๆ สดๆ น่ารับประทานมาก  กำละ 10-20 บาท แสนจะถูกค่ะ  ผักผลไม้และผลิตภัณฑ์ที่ขายที่ ตลาดสุขใจ เน้นความปลอดภัยตามมาตราฐานของสาธารณะสุข จะมีการตรวจและควบคุมคุณภาพอย่างสม่ำเสมอค่ะ

ตลาดสุขใจ
ตลาดสุขใจ
ตลาดสุขใจ
ตลาดสุขใจ

ผักชนิดนี้ไม่เคยเห็นมาก่อน เจ้าของร้านบอกว่า  เป็นโสม นำมาผัดน้ำมันหอย หรือลวกกินกับน้ำพริก ถ้าทานได้จะดีกับสุขภาพมากๆ

ตลาดสุขใจ

ผลไม้แบบออร์แกนิคของตลาดสุขใจ ได้รับความรู้ใหม่มาด้วย ว่า หากเราสังเกตผลไม้ออร์แกนิคลูกจะเล็กและสีอาจไม่สดเท่า ผลไม้ที่ผ่านยาฆ่าแมลงหรือใช้ยาเร่ง  และที่สำคัญปลูกให้เจริญเติบโตยากกว่าปกติ เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำผักหรือผลไม้ออร์แกนิค จึงราคา ค่อนข้างแพงกว่าทั่วไป

ตลาดสุขใจ
ตลาดสุขใจ

เห็ดเพื่อสุขภาพนานาชนิด แพคใส่กล่องอย่างดี

ตลาดสุขใจ

มีแบบแยกสำเร็จรูปพร้อมเครื่องปรุงให้ด้วยค่ะ อยากจะนำมาปรุงเป็นลาบหรือต้มยำแล้วแต่ชอบ

ตลาดสุขใจ
ตลาดสุขใจ

หนูน้อยสนุกสนานกับการจับจ่าย ไข่ ไก่ คุณลุงเจ้าของร้านก็หยอกล้ออย่างเป็นกันเอง

ตลาดสุขใจ

ขนมไทยก็มีน่ะค่ะ

ตลาดสุขใจ
ตลาดสุขใจ

ข้าวเกรียบทำกันเห็นแบบร้อนๆ กันเลยทีเดียว

ตลาดสุขใจ

ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านต่างๆ

ตลาดสุขใจ

หลบร้อนนั่งทาน ขนมจีนน้ำยา ในบรรยากาศแบบธรรมชาติ

ตลาดสุขใจ

ช้อปปิ้งได้ของเต็มตะกร้าจากตลาดสุขใจ 2 วัน 1 คืน กับการได้มาพักผ่อน ที่โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน ทำให้ภาพเดิมที่มีต่อที่นี่เปลี่ยนไปมาก  เคยไปเที่ยวเจอธรรมชาติสวยมาเยอะ แต่การได้มาที่นี่ ทำให้รู้สึกและเข้าใจว่า ธรรมชาติบำบัด ให้ความรู้สึกแบบนี้เอง  วันหยุดพักผ่อนลองพาครอบครัว เพื่อนฝูง มาเที่ยวสัมผัสวีถีไทยกันที่นี่ดูค่ะ จะมาเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ หรือค้างคืนก็ได้  รับรองว่าจะช่วยให้ผ่อนคลายได้เยอะเลยทีเดียว

ตลาดสุขใจ

ตัวอย่างโปรแกรมท่องเที่ยว
09.00 น.  เดินทางถึงโรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน
10.00 น.  เยี่ยมชมหมู่บ้านไทย สัมผัสวิถีไทย ทำเครื่องหอม ตามเรือนธาตุ
12.00 น.  แวะรับประทานอาหารที่ตลาดสุขใจ หรือห้องอาหารของ โรสการ์เด้นสวน สามพราน
13.00 น. ช้อปปิ้งเลือกซื้อ เลือกหา ผลิตภัณฑ์ คุณภาพ ปลอดสารพิษ ที่ตลาดสุขใจ
14.00 น. เดินทางกลับหรืออาจแวะท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในจังหวัดนครปฐม  หรือหากใครต้องการค้างพักค้างคืน ที่โรสการ์เด้นท์ สวนสามพราน เพื่อเติมพลังในเช้าวันต่อไป ก็ย่อมได้

รายละเอียดเพิ่มเติม
โรสการ์เด้นท ริเวอร์ไซต์ สวนสามพราน  http://www.rosegardenriverside.com/
ข้อมูลจาก: http://www.paiduaykan.com/travel/rosegarden/

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More