7,000,000,000

PEOPLE CONSUMING WHAT NOW ?

WHAT'S WRONG WITH OUR FOOD SYSTEM ?

Every night 1 in 7 people go to bed hungry-that's almost 1 billion people worldwide.

Polluted river water

Kills as many people as a nuclear explosion.

THE RECYCLE CHRONICLES

Lack of knowledge hinders recycling efforts.

Everybody wants happiness

Nobody wants pain, but you can't have a rainbow with out a little rain.

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

BE Magazine นิตยสารเพื่อสังคม ต่อสู้ความยากไร้ด้วยการให้อาชีพ


เรื่อง : อาศิรา พนาราม
ภาพ : สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์ และ BE Magazine
BeMagazine
BE Magazine นิตยสารไลฟ์สไตล์น้องใหม่อายุเพียงขวบกว่าๆ เล่มนี้ บางครั้งคุณอาจเห็นตามแผงหนังสือ แต่บางครั้งก็เห็นจาก “คนขาย” ที่มายืนขายตามสถานีรถไฟฟ้า ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ BE Magazine ไม่ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อกินส่วนแบ่งในตลาดนิตยสารเพียงอย่างเดียว แต่ได้วางเป้าให้ตัวเองเป็น “นิตยสารเพื่อสังคมเล่มแรกของเมืองไทย” ที่มุ่งช่วยเหลือคนที่ขาดโอกาสในสังคม ซึ่งก็คือกลุ่มนักขายของนิตยสารนั่นเอง
อารันดร์ อาชาพิลาส คนหนุ่มวัย 23 ผู้ก่อตั้ง Be Magazine มองเห็นความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจเพื่อสังคมในเมืองไทย โดยแรงผลักดันของเขาคือ ความต้องการที่จะต่อสู้กับอาชีพที่ไม่ควรมีในสังคม เช่น ขอทาน ควาญช้าง เด็กขายพวงมาลัยตามสี่แยก ไปจนถึงคนไร้บ้าน ไร้อาชีพ ซึ่งสำหรับอารันดร์แล้วการต่อสู้ครั้งนี้คงไม่ใช่การกวาดล้างหรือขับไล่ แต่เป็นการทำให้เขาเหล่านั้นมี “อาชีพทางเลือก” เข้ามาทดแทน
“ข้ามกำแพง 8,000 บาท”
“ปัจจุบันคนไร้บ้านหรือผู้ด้อยโอกาสมักถูกกีดกันออกจากสังคม แม้หากมีการช่วยเหลือก็มักจะมาในรูปแบบของการบริจาคเป็นครั้งคราว ซึ่งไม่ใช่ทางแก้ที่ยั่งยืนครับ” คุณอารันดร์เริ่มต้นการสนทนากับเราอย่างตรงประเด็น
“มันน่าจะดีกว่าไม่ใช่หรือ หากพวกเขาเหล่านั้นจะยืนหยัดได้ด้วยตนเอง โดยอาศัยความช่วยเหลือจากธุรกิจเพื่อสังคม โชคดีที่ค่าครองชีพโดยภาพรวมของประเทศเราไม่สูงมาก ฉะนั้น การที่คนยากไร้คนหนึ่งจะลืมตาอ้าปากขึ้นมาได้จึงไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป ขอเพียงให้เขาข้ามกำแพงข้อจำกัดทางสังคมเรื่องที่อยู่ เสื้อผ้า อาหารไปได้…”
อารันดร์เรียกกำแพงนี้ว่า “กำแพง 8,000 บาท” เพราะหากคุณมีเงิน 8,000 บาท คุณก็มีพอสำหรับค่าอาหาร ค่าเช่าบ้านที่มีห้องอาบน้ำ ค่าเสื้อผ้าสำหรับแต่งตัวออกไปหางานทำ ซึ่งนี่เองคือ กำแพงที่หากคนๆ หนึ่งสามารถกระโดดข้ามไปแล้ว คนๆ นั้นก็สามารถดิ้นรนเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้ ขอเพียงว่า เงินนั้นต้องเป็นเงินที่คุณหามาด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง ซึ่งจะช่วยสร้างจิตสำนึกในการพึ่งตนเองได้มากกว่าการรับเงินให้เปล่าหลายเท่าทวีคูณ
ทำไมถึงเป็น BE Magazine
อารันดร์เลือกธุรกิจนิตยสารด้วยเหตุผลหลายอย่าง เริ่มจากเขาเห็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จของ Big Issue นิตยสารเพื่อสังคมในประเทศอังกฤษ ประกอบกับในเมืองไทยนิตยสารก็เป็นสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตไม่สูงมาก  สามารถขายได้โดยไม่ต้องขอ อ.ย. ทำให้ผู้บริโภคสะดวกใจที่จะซื้อจากคนขายข้างถนน นอกจากนั้นยังเป็นสินค้าที่เปิดโอกาสให้คนทำได้พัฒนาตนเองอย่างไม่มีข้อจำกัด
ทุกวันนี้ BE Magazine เปิดโอกาสให้คนไร้บ้านและคนขาดโอกาส (ที่ไม่มีแม้แต่ทุนเริ่มต้น) มารับนิตยสารไปขายฟรีๆ 30 เล่มแรก (ในราคาขายเล่มละ 45 บาท) สามารถยืนขายที่รถไฟฟ้าทั้ง BTS และ MRT ในช่วงวันธรรมดาหลังเลิกงาน โดยทางนิตยสารจะทำการอบรมเทคนิคการขายให้ด้วย หลังจากนั้น เมื่อขายได้หมด คนขายคนหนึ่งจะได้เงิน 1,350 บาท มาเป็นเงินตั้งต้น ครั้งต่อไปเขาก็มารับนิตยสารไปขายได้อีกในราคาเล่มละ 25 บาท ซึ่งพอขายได้ครั้งนี้เขาจะมีกำไร 20 บาทต่อเล่ม และหากเขาสะสมรายได้ต่อไปเรื่อยๆ เขาก็จะข้ามกำแพง 8,000 บาทนี้ไปได้ในที่สุด
“เอ็นดูเขา เอ็นเราไม่ขาด” หัวใจของธุรกิจเพื่อสังคม
“อะไรที่เริ่มทำเป็นครั้งแรก มันจะล้มเหลวแน่นอน” นั่นคือ สัจธรรมที่ทำให้คนล้มแล้วต้องลุก ในช่วงแรกอารันดร์วาดฝันว่าโมเดลที่ประสบความสำเร็จแล้วของหนังสือ Big Issue (UK) จะต้องสำเร็จใน “เมืองไทยใจดี” ด้วยเช่นกัน ครั้งแรกเขาตั้งราคาขาย Be Magazine เพียงแค่เล่มละ 20 บาท (โดยคิดเงินคนยากไร้แค่เล่มละ 1 บาท) แต่อะไรๆ ก็ไม่ได้สวยงามเหมือนดั่งฝัน เอ็นเขาจึงขาดผึงตั้งแต่ 2-3 เล่มแรก นั่นเป็นเพราะธุรกิจเพื่อสังคมยังใหม่มากในเมืองไทย ยากที่จะทำให้เอเจนซี่โฆษณาและคนยากไร้เข้าใจได้ถ่องแท้ รายได้เพียงเท่านั้นยังไม่สามารถหล่อเลี้ยงธุรกิจได้
เล่มถัดมาเขาจึงปรับราคาหนังสือเป็น 45 บาท เอากำไร 25 บาทต่อเล่ม ซึ่งทำให้ครอบคลุมต้นทุนการผลิต (ซึ่งเขาได้ประมาณการไว้อย่างดี) บวกกับค่าโฆษณาที่เริ่มเข้ามามากขึ้น ก็ทำให้อารันดร์พอมีรายได้เข้ามาหมุนเวียนในบริษัท อย่างไรก็ดี เขามองว่าจุดสำคัญที่สุดที่ทำให้ธุรกิจนี้ลืมตาอ้าปาก ก็คือ การที่ “ธุรกิจเพื่อสังคม” เริ่มเป็นที่รับรู้ของคนในวงที่กว้างขึ้น ตัวเขาเองได้ทำการประชาสัมพันธ์และออกสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง “นี่แหละครับที่ทำให้ BE Magazine เป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ”
BeMagCover
ขอโอกาสจากผู้ยากไร้ ให้โอกาสกับตัวเอง
จริงอยู่ที่คนลำบากยากไร้มีอยู่ทั่วเมือง แต่จะให้ลงพื้นที่ชักชวนกันทีละคนสองคนคงไม่ใช่วิธีที่เหมาะสม อารันดร์เลือกเดินเข้าติดต่อกับสภาสังคมสงเคราะห์ ซึ่งมีข้อมูลของคนไร้บ้านอยู่แล้ว รวมทั้งยังได้ติดต่อเข้าไปหากรมราชฑัณฑ์ เพื่อนำเสนออาชีพทางเลือกให้กับนักโทษที่พร้อมจะคืนสู่สังคม
“มันไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด ใช่ว่าพอผมไปชักชวนแล้ว พวกเขาจะตามกันมาเป็น 100 คน ไปพูดครั้งหนึ่งๆ อาจมีคนสนใจทำเพียง 10 คน แต่ดีที่ว่าเมื่อพวกเขาทำแล้วเห็นผลด้านบวก เขาก็ไปชักชวนคนรู้จักให้เข้ามาทำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือบางคนได้เห็น BE Magazine ในสื่อต่างๆ ก็จะแนะนำคนละแวกบ้านที่ลำบากให้เดินมาสร้างอาชีพกับเรา”
แก้ปัญหาสังคมด้วยธุรกิจเพื่อสังคม
“ธุรกิจเป็นระบบที่นำมาใช้แก้ปัญหาได้เร็วที่สุด เพราะหากเรามัวแต่รอการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น แก้กฎหมาย แก้กฎระเบียบของรัฐ ฯลฯ ถ้าชาวบ้านไม่เข้าใจกฎหมายดีพอ ก็เท่ากับว่าเขาใช้ประโยชน์จากตรงนั้นไม่ได้เลย แต่ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้เร็ว ไม่ต้องรออนุมัติหลายขั้นตอน ปรับตัวได้ง่าย และเข้าถึงปัญหาได้ตรงจุด ฉะนั้น หากเรามีการวางระบบที่ดี ร่วมกับการกระจายข่าวสารที่ทั่วถึง สังคมก็น่าจะตอบรับและให้ความร่วมมือกับเราไม่ยาก”
อารันดร์มองว่า ธุรกิจเพื่อสังคมเหมาะอย่างยิ่งกับประเทศไทย เพราะคนไทยเป็นชนชาติที่มีเมตตา นิยมการช่วยเหลือเกื้อกูลและการให้ แต่ปัจจุบันแหล่งรับบริจาคหลายแห่งไม่มีระบบที่ชัดเจน เช่น บริจาคเงินทำบุญแล้วก็ยังไม่รู้ว่าเงินนั้นจะไปไหน ในทางตรงกันข้าม ธุรกิจเพื่อสังคมจะเน้นการสร้างระบบที่ชัดเจน โปร่งใส ยกตัวอย่างเช่น BE Magazine ที่ใช้นิตยสารเป็นสื่อกลางให้ “คนได้ช่วยคน” ด้วยเงินเพียง 45 บาทต่อเดือน จากการซื้อนิตยสารหนึ่งเล่มจากนักขายยากไร้ เห็นชัดเลยว่า เป็นการช่วยทางตรง หรือแม้กระทั่งกับการสมัครสมาชิกรายปี เงิน 240 บาทจากค่าสมาชิกนั้น ก็จะนำไปบริจาคให้กับมูลนิธิที่ผู้อ่านเลือกเองตั้งแต่แรกสมัคร เมื่อผู้อ่านได้รับหนังสือ ก็จะได้รับใบเสร็จเงินบริจาคจากมูลนิธินั้นๆ ด้วย
“ผมว่าโมเดลธุรกิจที่ดีและโปร่งใส จะดึงคนจำนวนมากให้เข้ามาช่วยกัน เพราะคนคนเดียวเปลี่ยนโลกไม่ได้ครับ ความช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ แต่มาจากคนจำนวนมาก คืออีกวิธีที่ทำให้การแก้ปัญหาเดินเข้าใกล้ความสำเร็จเร็วขึ้น”
TIPS : “ธุรกิจ – รัฐ – มวลชน” กลไกขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคม
อารันดร์มองว่า การแก้ปัญหาสังคมควรต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้ง 3 ส่วน นั่นคือ ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน และภาครัฐ เราจึงถามอารันดร์ว่า ในมุมมองของเขา รัฐสามารถช่วยเหลือธุรกิจเพื่อสังคมได้อย่างไรบ้าง และนี่คือข้อเสนอจากอารันดร์แห่ง Be Magazine
1. มีองค์กรกลางที่จัดสรรข้อมูลให้กับผู้ที่สนใจในธุรกิจเพื่อสังคม ธุรกิจเพื่อสังคมหลายแห่งต้องการข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ แต่ไม่รู้ว่าต้องไปติดต่อกับใคร หรือกว่าจะได้ข้อมูลทีก็นานแสนนาน เพราะไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง ฉะนั้น ควรมีเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานกลางที่รับเรื่องไปแล้วคอยประสานให้ว่า คุณควรติดต่อกับหน่วยงานไหน เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่สะดวก
2. สื่อภาครัฐควรเปิดช่องทางให้ธุรกิจเพื่อสังคมมากขึ้น ทุกวันนี้มีหลายคนที่กำลังทำสิ่งดีๆ แต่ไม่มีใครรับรู้ เพราะธุรกิจเพื่อสังคมจะอยู่ได้ก็ต้องอาศัยสังคมสนับสนุน และสังคมวงกว้างจะรู้ได้ก็ต้องอาศัยสื่อเป็นหลัก
3. มีเว็บไซต์กลางที่สนับสนุนผู้ที่สนใจทำธุรกิจเพื่อสังคม Resource นี้ควรมีขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้ความรู้เรื่องแผนธุรกิจเพื่อสังคมต่างๆ อาจมีกิจกรรมโปรโมทเพื่อระดมทุนจากผู้ใจบุญ และเพื่อจัดสรรทุนให้กับธุรกิจเพื่อสังคม รวมถึงมีกิจกรรมอื่นๆ ที่ผลักดันแนวคิดนี้ เช่น แข่งขันสร้างแผนธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อรับทุนไปดำเนินงานจริง จัดนิทรรศการให้ความรู้กับบุคคลทั่วไป ฯลฯ
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
http://www.think-be.com/
http://www.bigissue.com/


Read more: http://article.tcdcconnect.com/interview/be-magazine-%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%a1-%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%ad#ixzz2CG1nGNh2

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ฟาร์มสุข ไอศกรีม






ฟาร์มสุข ไอศกรีม ธุรกิจไอศกรีมเพื่อแก้ปัญหาเยาวชนอย่างยั่งยืน


https://www.facebook.com/farmsookicecream

ภารกิจ
เราช่วยเด็กอย่างยั่งยืนด้วยการสอนเด็กด้อยโอกาสทำไอศกรีมนมพรีเมี่ยมโฮมเมด เรานำไปขาย รายได้ให้เด็ก แบ่งส่วนไว้ทำไอศกรีมต่อ อีกส่วนแบ่งไว้สอนเด็กกลุ่มต่อไ

รายละเอียด
กิจการเพื่อสังคมคืออะไร
- คือการทำธุรกิจที่หวังผลกำไร โดยนำกำไรไปแก้ปัญหาสังคม

ฟาร์มสุข ไอศกรีม เป็นกิจการเพื่อสังคมอย่างไร
- ฝึกอาชีพให้เด็กมีส่วนร่วมทำไอศกรีม เรานำไปขายให้ เพื่อให้เด็กมีรายได้ มีอาชีพ มีความภูมิใจ

ทำไมไม่ทำในรูปแบบมูลนิธิ
- มูลนิธิไม่สามารถแสวงหาผลกำไรได้สูงสุด ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาเงินบริจาค ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการแก้ปัญหาสังคม

ฟาร์มสุข ไอศกรีม ไม่ทำงานในรูปแบบมูลนิธิเพราะ
- เราต้องการใช้ความรู้ในการทำธุรกิจหาเงินรายได้จากการขายไอศกรีม+เงินบริจาคไปแก้ปัญหาเด็กอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ทำไมกิจการเพื่อสังคมจึงต้องแสวงหาผลกำไรสูงสุด
- ยิ่งมีกำไรมาก ปัญหาสังคมยิ่งถูกแก้ไขได้มากขึ้น มีความยั่งยืนมากขึ้น

ทำไมไอศกรีมฟาร์มสุขจึงต้องแสวงหาผลกำไรสูงสุด
- ยิ่งไอศกรีมขายดีมาก เด็กๆ ก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีความภูมิใจมากขึ้น มีเด็กที่ได้รับโอกาสฝึกอาชีพร่วมทำไอศกรีมเพิ่มมากขึ้น มีความยั่งยืน

ทำไมไอศกรีมฟาร์มสุขจึงต้องเปิดรับบริจาค
- เราตั้งใจให้คนในสังคมมีส่วนร่วมกับเราในการแก้ปัญหาเด็กอย่างยั่งยืน

กิจการเพื่อสังคม ต่างจาก CSR อย่างไร
- กิจการเพื่อสังคมมีวัตถุประสงค์ก่อตั้งมาเพื่อแก้ปัญหาสังคมตั้งแต่เริ่มทำกิจการ แต่ CSR เป็นกิจกรรมตอบแทนสังคมของกิจการให้ตัวเองร่ำรวยก่อนแล้วค่อยตอบแทนสังคม

ฟาร์มสุข ไอศกรีม ต่างจาก CSR อย่างไร
- เราก่อตั้งดำเนินธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาเด็กอย่างยั่งยืน ไม่ได้ก่อตั้งมาเพื่อให้ตัวเองร่ำรวยก่อนแล้วค่อยมาช่วยแก้ปัญหาเด็ก

ฟาร์มสุข ไอศกรีม จะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนอย่างไร
- เราใช้ความรู้ทางธุรกิจ สร้างระบบ กระบวนการจัดการ ความรู้ทางธุรกิจ การตลาด สร้างแบรนด์ ให้กับไอศกรีมที่เด็กๆ ร่วมทำ และทุกสิ่งที่เราทำสามารถวัดผลความยั่งยืนออกมาเป็นตัวเลขได้ พูดง่ายๆ คือเราไม่ได้มั่ว

วัดผลอย่างไร
- เราใช้ Social Impact Indicators ซึ่งเป็นการวัดผลในการแก้ปัญหาสังคมอย่างเป็นสากล โดยใช้การคำนวณ Social Return on Investment ยกตัวอย่างเช่น ให้เงินเด็กๆ ไปทำไอศกรีม 1 บาทจะได้ผลตอบแทนมา 10 บาท, เด็กมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการมีส่วนร่วมทำไอศกรีมต่อเดือนกี่บาท ขั้นตอนนี้ หน่วยงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ จะเป็นหน่วยงานที่ช่วยเราตรวจสอบวัดผล

ทำไมเราจึงเลือกที่จะช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส
- เพราะเด็กคืออนาคตของสังคม เรามุ่งมั่นที่จะสร้างให้เด็กเห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในความสามารถของตัวเอง เพื่อพัฒนาสังคมโดยรวมจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บ้านนาวิลิต สืบสานวิถีชีวิตเกษตกรรมดั้งเดิม


นาข้าวอินทรีย์ - บ้านนาวิลิต สืบสานวิถีชีวิตเกษตกรรมดั้งเดิม

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

นิตยสาร สารคดี


ในปี พ.ศ. 2517 สำนักพิมพ์เมืองโบราณก่อตั้งขึ้นโดยมีนโยบายเพื่อผลิตวารสาร เมืองโบราณ ซึ่งเป็นวารสาร วิชาการราย 3  เดือน ที่มีเนื้อหาด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ต่อมาเริ่มจัดทำหนังสือวิชาการและพ็อกเกตบุ๊กในแนวเดียวกัน และขยายงานเป็นสำนักพิมพ์เล็กๆ อีกหลายสำนักพิมพ์คือ สำนักพิมพ์ปลาตะเพียน สำนักพิมพ์มหานาค  สำนักพิมพ์สีดา  เพื่อผลิตหนังสือแนวอื่น ๆ
ปี พ.ศ. 2526-2527 ประเทศไทยเกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอย  ฝ่ายบริหารจึงได้วิเคราะห์สถานการณ์ดังกล่าว  จึงมีข้อสรุปเพื่อนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติ  2  แนวทางคือ
1.  แนวทางชะลอการลงทุน  และวางแผนเร่งส่งเสริมการขายเพื่อระบายหนังสือในสต็อกซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากออกไปให้ได้มากที่สุด
2.  สร้างนิตยสารใหม่เพื่อเป็นวงจรใหม่ของสำนักพิมพ์ โดยจะต้องเป็นนิตยสารที่เลี้ยงตัวเองได้อย่างแท้จริง คือเป็นนิตยสารที่มีเนื้อหากว้าง มีผู้อ่านจำนวนมาก มีรายได้จากการขายโฆษณาในแต่ละฉบับ ซึ่งครอบคลุมค่าพิมพ์และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (วารสาร เมืองโบราณ เป็นวารสารที่มีเนื้อหาเฉพาะทางมีผู้อ่านในวงจำกัด จึงหาโฆษณาได้น้อย)
จากแนวทางที่ 2 จึงเป็นที่มาของนิตยสาร สารคดี โดยมีการดำเนินงานและทีมงานแยกต่างหากเป็นอิสระ เมื่อแรกวางจำหน่าย นิตยสาร สารคดี ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ในฐานะนิตยสารที่นำเสนอเรื่องแนวสารคดีโดยเฉพาะ ให้ความสำคัญกับการถ่ายภาพและการออกแบบรูปเล่มเป็นพิเศษ ซึ่งแตกต่างจากนิตยสารฉบับอื่นๆ ในช่วงเวลานั้น
วิสัยทัศน์และเจตนารมณ์ขององค์กร วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานขององค์กร


ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีคุณภาพต่อสังคมไทย
บริษัท วิริยะธุรกิจ จำกัด  ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2526 มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการด้านสิ่งพิมพ์ เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงในด้านการผลิตสิ่งพิมพ์ที่มีคุณภาพ ทั้งการจัดทำเนื้อหา การถ่ายภาพ และการออกแบบรูปเล่ม  ผลงานการผลิตสิ่งพิมพ์ในเครือได้แก่ นิตยสาร สารคดี  สำนักพิมพ์สารคดี  วารสารเมืองโบราณ สำนักพิมพ์เมืองโบราณ
นอกจากนี้บริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด ยังรับออกแบบและจัดพิมพ์สิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ ปฏิทิน รายงานประจำปีของบริษัทห้างร้านต่างๆ โดยมีลูกค้าที่สำคัญ เช่น กรมป่าไม้ สำนักนายกรัฐมนตรี บริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด  บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด  บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)   บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ฯลฯ  ภายใต้การควบคุมการผลิตโดยผู้ชำนาญด้านการพิมพ์ที่มีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 20 ปี


ผลตอบแทนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม: 

• ส่งเสริม ปลูกฝังและกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับผู้อ่าน ผ่านเนื้อหาในนิตยสารและกิจกรรม เช่น รณรงค์ให้สมาชิกส่งกระดาษลูกฟูกที่ห่อนิตยสารกลับไปยังกองบรรณาธิการเพื่อนำไปรีไซเคิล • เป็นนิตยสารที่ได้รับความเชื่อถือสูงที่สุดเล่มหนึ่งในประเทศไทย ในแง่ของความละเอียด ถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน และรอบด้านของแหล่งข้อมูลและความรู้ รวมทั้งคุณภาพของภาพถ่ายประกอบ เนื้อหาในนิตยสารถูกนำไปอ้างอิงอย่างสม่ำเสมอ สร้างทั้งบรรทัดฐานในวงการนิตยสารและแรงบันดาลใจสำหรับนักเขียนและช่างภาพสารคดีรุ่นแล้วรุ่นเล่าสืบมาจวบจนปัจจุบัน • เป็นทางเลือกของแหล่งความรู้ในแขนงต่างๆ ที่เจาะลึกและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน แต่สื่ออื่นๆ ยังไม่มีทางเลือกให้มากนัก โดยเฉพาะความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมพื้นบ้าน • จัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับสำนักพิมพ์สารคดีและผู้ให้การสนับสนุน อาทิ นิทรรศการภาพถ่ายสารคดี งานเสวนา โครงการประกวด และค่ายนักเขียนสารคดี เพื่อจุดประกายหรืออบรมผู้ที่สนใจอยากทำงานเขียนหรือถ่ายภาพสารคดี
ความมั่นคงทางการเงิน: 
นิตยสารสารคดีสามารถยืนหยัดมายาวนานกว่า 25 ปี โดยมีรายได้หลักมาจากค่าโฆษณาในเล่มและค่าสมัครสมาชิก โดยในปี 2551 มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 จากปีก่อนหน้า แต่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 58 ในช่วงเวลาเดียวกัน เนื่องจากรายจ่ายดอกเบี้ยลดลง
ที่อยู่สำนักงาน:
นิตยสาร สารคดี บริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด 28,30 ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ / มือถือ:
0-23281-6110
โทรสาร:
0-2282-7003
เว็บไซต์:
http://www.sarakadee.com

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

๑4๑ เพียงซื้อผลิตภัณฑ์ก็ได้ปันของเล่นให้น้อง


๑4๑ เพียงซื้อผลิตภัณฑ์ก็ได้ปันของเล่นให้น้อง

408171 345078838845666 213 Copy
จากจุดเริ่มต้นในการเลือกของเล่นที่มีประโยชน์ให้กับลูกฝาแฝด ฟ้าและน้ำ มาสู่แรงบันดาลใจในการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสังคมที่สามารถส่งต่อความหวังดีของผู้ซื้อสู่เด็กผู้ด้อยโอกาส เพราะการบริโภคเพียงเพื่อตัวเราคงไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่การแบ่งปันกลับคืนสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมกลายเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจในยุค Generation Generosity และนี่คือจุดเริ่มต้นของการสร้างธุรกิจเพื่อสังคม ๑4๑ โดยคมกฤช และกฤติยา ตระกูลทิวากร
๑4๑ เป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ประเภทของใช้ตกแต่งภายในบ้าน เช่น นาฬิกา ที่กั้นหนังสือ เก้าอี้ กล่องใส่ของ ฯลฯ โดยมีเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่ลายฉลุซึ่งถูกออกแบบให้เป็นลวดลายต่างๆ เช่น กวางมูส กระต่าย นก เต่า แกะ ต้นไม้ ฯลฯ ช่องว่างที่ถูกฉลุออกไปนี้เปรียบเสมือนกับช่องว่างแห่งการให้ (The giving space) ที่ถูกนำไปผลิตเป็นของเล่นเชิงสร้างสรรค์ส่งมอบให้กับเด็กด้อยโอกาสตามมูลนิธิเด็กที่มีเครือข่ายศูนย์เด็กอ่อนในชนบท ดังนั้นทุกๆ หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เราซื้อ ส่วนหนึ่งของวัตถุดิบจะถูกนำไปผลิตเป็นของเล่นไม้ได้หลายชิ้น
สิ่งหนึ่งที่ถูกสะท้อนกลับมาในใจผู้บริโภคก็คือ เราทุกคนได้มีส่วนร่วมในการส่งมอบของเล่นให้กับเด็กด้อยโอกาส เพื่อให้เขาเหล่านั้นเติบโตไปกับของเล่นที่มีคุณภาพ เพราะการที่เขาเกิดมาด้อยโอกาส ไม่ได้หมายความว่า เขาต้องด้อยพัฒนาทางด้านความคิดสร้างสรรค์ไปด้วย อันเป็นการสร้างสังคมให้น่าอยู่มากขึ้นผ่าน ‘วิถีแห่งการให้ และการแบ่งปัน’ อันเป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจเพื่อสังคม ๑4๑
ที่มา : www.facebook.com/141SE


Credit/ที่มา: http://www.creativemove.com/design/141se/#ixzz27nyv0QgE

น้ำมันกว่า 16 ล้านบาร์เรล หมดไปกับการเอามาใช้ทำขวดพลาสติก

Print Ad สยอง! ดื่มน้ำบรรจุขวดพลาสติก = ซดน้ำมัน!

Brita21
Brita เครื่องกรองน้ำสัญชาติเยอรมัน ช็อคคนให้หยุดดู Print Ad ชุดนี้ ด้วยภาพหนุ่มสาวที่มีคราบน้ำมันออกมาจากปาก แทนที่จะเป็นคราบน้ำสะอาดสุดสดชื่น พร้อมทิ้งท้ายใน Ad ว่า “ปีก่อน น้ำมันกว่า 16 ล้านบาร์เรล หมดไปกับการเอามาใช้ทำขวดพลาสติก” เพื่อให้ผู้คนตระหนักว่า การดื่มน้ำที่บรรจุพลาสติกหรือที่เราเรียกกันว่าขวด PET (Polyethylene Terephthalate) ผลาญทรัพยากรน้ำมันอย่างมากในการผลิต หนำซ้ำยังปล่อยก๊าซพิษกับมลพิษที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
Brita ต้องการให้เราหยุดการดื่มน้ำบรรจุขวดพลาสติกและหันมากรองน้ำดื่มเองโดยใช้ภาชนะที่สามารถนำกลับมาใช้ครั้งแล้วครั้งเล่า หรือจริงๆ แล้วคุณอาจจะแทบไม่ต้องใช้เครื่องกรองน้ำเลยก็ได้ หากคุณอยู่ในประเทศพัฒนาแล้วอย่างยุโรปหรืออเมริกาที่มีมาตรฐานน้ำประปาดื่มได้สูงอยู่แล้ว ซึ่งแคมเปญนี้พยายามชี้ให้เห็นว่าน้ำดื่มบรรจุขวดเป็นสินค้าที่ไร้ประโยชน์ แม้ขวดพลาสติกจะสามารถนำมารีไซเคิลได้ แต่ก็เพียง 20% เท่านั้น ที่เหลือต้องใช้วิธีฝังกลบซึ่งต้องใช้เวลากว่า 700 ปีในการย่อยสลาย และยังต้องสูญเสียทรัพยากรและพลังงานในการรีไซเคิล เรียกได้ว่า ได้ไม่คุ้มเสีย ซึ่งแต่ละปี แค่เฉพาะแค่ในอเมริกามีขวดพลาสติก 38 พันล้านขวดต้องถูกนำไปฝังกลบ จำนวนพลาสติกเหล่านั้นต้องใช้น้ำมันกว่า 1.5 ล้านบาร์เรลในการผลิต เพียงให้ได้ขวดน้ำดื่มครั้งเดียวแล้วทิ้ง !
จริงอยู่…มนุษย์ต้องดื่มน้ำ แต่จำเป็นหรือไม่ ที่ต้องดื่มน้ำบรรจุขวดพลาสติก เรามีทางเลือกอื่นที่ดีสำหรับตัวเราและสิ่งแวดล้อมหรือไม่…นี่คือเรื่องใกล้ตัวที่คุณเองก็ช่วยโลกได้

น้ำดื่มบรรจุขวดผลาญทั้งพลังงานและเงินในการขนส่ง จะดีกว่ามั้ย หากคุณกรองน้ำดื่มจากก๊อกน้ำที่บ้าน  สะอาด ปลอดภัย ไม่มีค่าขนส่ง ช่วยลดการใช้พลังงานด้วย
น้ำที่นอนนิ่งในขวดพลาสติกอาจมีสารเคมีเจือปน แล้วจะเสียเงินโดยใช่เหตุทำไม  ในเมื่อเรามีทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อชีวิตและโลกของเรา

อ้างอิง : Brita


Credit/ที่มา: http://www.creativemove.com/advertising/brita-print-ad/#ixzz27nxWDM4V

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

Good Buy... คิดก่อนช้อป สังคมก็ดีขึ้นได้

โดย ธนภณ เศรษฐบุตร (@thanapons) 
จะดีแค่ไหนถ้าการช้อปปิ้งไม่เป็นเพียงแค่การซื้อของเพื่อตนเองอีกต่อไป จะดีแค่ไหนถ้าวันนี้การซื้อของของคุณสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมได้ วันนี้สิ่งที่พูดมาทั้งหมดไม่เป็นเพียงแค่เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไป เพราะปัจจุบันมีผู้ผลิตและผู้ค้ามากมายที่ต้องการก้าวข้ามการทำธุรกิจหรือการค้าขายแบบแบบเดิมๆ ไปสู่การค้าขายที่เป็นธรรมหรือที่เรียกกันว่า "แฟร์เทรด" (Fairtrade)
Fair Trade คือความพยายามในการส่งเสริมการค้าแบบยุติธรรม
โดยเน้นสินค้าและบริการจากประเทศโลกที่สามและโลกที่สองไปยังประเทศโลกที่หนึ่ง
แนวคิดของแฟร์เทรดไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่ในต่างประเทศ แถมสินค้าแฟร์เทรดหลายตัวก็มีคุณภาพที่เรียกได้ว่าทัดเทียมกับสินค้าทั่วไปในท้องตลาดเลยทีเดียว (ใครที่คิดว่าของที่ทำเพื่อสังคม จะมีดีไซน์ที่เชย คุณภาพขาดๆ เกินๆ ขอให้คิดใหม่) เพื่อให้เห็นภาพกันมากขึ้นผู้เขียนขอยกตัวอย่างหนึ่ง Pants to Povertyกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) จากประเทศอังกฤษที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ผลิตฝ้ายในประเทศอินเดีย Pants to Poverty เป็นกิจการเพื่อสังคมที่ร่วมกับผู้ปลูกฝ้ายและโรงงานที่ประเทศอินเดีย เพื่อผลิตกางเกงในแฟร์เทรดและส่งขายไปกว่า 20 ประเทศทั่วโลก นอกจากการซื้อขายกับผู้ผลิตและโรงงานอย่างเป็นธรรมแล้ว Pants to Poverty ยังเข้าไปร่วมส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำการปลูกฝ้ายแบบอินทรีย์อีกด้วย
  
© pantstopoverty.com
กลับมาดูตัวอย่างของประเทศไทยกันบ้าง เคสของธุรกิจแฟร์เทรดที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคงไม่พ้นดอยตุง ธุรกิจที่ช่วยให้ชุมชนหยุดการตัดไม้ทำลายป่าและหันมาสร้างอาชีพให้กับชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพื้นที่ โดยดอยตุงนอกจากเข้าไปช่วยชุมชนพัฒนาอาชีพแล้ว ยังรับซื้อสินค้าต่างๆ จากชุมชนในราคาที่เป็นธรรมอีกด้วย นอกเหนือจากดอยตุงแล้ว "ปลาจะเพียร" ก็เป็นอีกหนึ่งกิจการเพื่อสังคมแฟร์เทรดที่น่าสนใจ

© doitung.org
‘ปลาจะเพียร’ ถูกริเริ่มขึ้นจากความร่วมมือของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรต่างๆ อาทิ Thailand Creative Design Center (TCDC), นิตยสาร a day, Thai Graphic Designer Association (ThaiGa), สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม (สกส.), สถาบันChangeFusion และอีกหลากหลายองค์กร โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่อสร้างตลาดสำหรับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างศักยภาพในการประกอบอาชีพให้กับชุมชนและองค์กรเพื่อสังคมอื่นๆ อย่างยั่งยืน
ชื่อปลาจะเพียร
มาจาก ‘ปลาตะเพียนสาน’ เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงงานฝีมือของชุมชนความเป็นไทย
และการสานยังแสดงถึงการสอดประสานร่วมมือร่วมใจรวมกับความ ‘เพียร’ พยายามในการว่ายทวนน้ำของปลา

www.facebook.com/plajapian
จากเคสทั้งหมดที่กล่าวมาคงเห็นแล้วว่า ปัจจุบันนี้มีธุรกิจต่างๆ มากมาย ที่ไม่ดำเนินธุรกิจโดยมีเพียงแค่กำไรเป็นตัวตั้ง หากแต่ยังคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และความเป็นธรรมกับคู่ค้า พวกเราเองในฐานะผู้บริโภคก็สามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้นได้ผ่านการสนับสนุนสินค้าและบริการของกิจการแฟร์เทรดต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าถ้าพลังผู้บริโภคนั้นมีมากพอที่จะแสดงให้ธุรกิจทั้งหลายเห็นว่ายุคของการทำธุรกิจที่เอาแต่ผลประกอบการเป็นที่ตั้งนั้นล้าสมัยไปเสียแล้ว และร่วมกันส่งเสริมธุรกิจที่ดีต่อสังคมเช่นธุรกิจแฟร์เทรด ไม่แน่ว่าในอนาคตการที่ธุรกิจทั้งหลายจะแปรเปลี่ยนตนเองเป็นธุรกิจแฟร์เทรดทั้งหมดอาจจะไม่เป็นเพียงแค่ความฝันก็เป็นได้

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More